เข้าสู่ระบบ

รายงานการดำเนินงานสนับสนุน ส่งเสริม จัดกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำ การยกระดับคุณภาพครูและโรงเรียนที่เข้าร่วมดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานของ โครงการเพื่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กเชิงระบบ

ความคืบหน้า 100%

โครงการการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กเชิงระบบด้วยโรงเรียนแม่ข่าย นวัตกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการ

ที่มาและหลักการ

ตามที่สำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ตามมาตรา 5 (3) และมาตรา 5 (6) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ระบุวัตถุประสงค์ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน ดำเนินการ หรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาครูให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา โดยมีแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู โดยเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน พัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นหมายความรวมถึงครูที่กำลังปฏิบัติหน้าที่สอน (ครูประจำการและครูผู้ช่วย) และผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตด้วย

และองค์การความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD : Organization of Economic Cooperation Development) ได้นำเสนอเอาไว้ว่าปัจจุบันสภาวการณ์ของโลกกำลังเปลี่ยนไป แนวโน้มการจ้างงานว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ 60% ของงานในอนาคตจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ที่โรงเรียน หรือผู้ทำหลักสูตรไม่สามารถคาดการณ์ได้ ความรู้เนื้อหาที่สอนผู้เรียนในวันนี้ ในอนาคตอันสั้น อาจจะไม่สามารถนำไปใช้ได้เนื่องจากความล้าสมัย ดังนั้นเด็กยุคใหม่จะต้องมีทักษะที่แข็งแกร่งมากกว่าความรู้ที่ถูกพร่ำสอน และจะดีขึ้นไปอีกถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสามารถสร้างสรรค์งานได้เอง ทำให้การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนปัจจุบันได้เสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้นักเรียน ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความอยากจะคิด แรงจูงใจในการหาคำตอบเป็นสำคัญ โดยผู้บริหารและครูต้องเปลี่ยนมุมมอง รู้จักท้าทายกฎตายตัว จึงจะสามารถสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้แก่เยาวชนได้ โดยคุณสมบัติของครูที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด โดยสรุป ครูต้องเปลี่ยนบทบาทใหม่เป็นผู้เปิดโลกทัศน์ สร้างความท้าทาย ด้วยกิจกรรมให้นักเรียนได้ลงมือทำจริงทุกคน ทุกคนในห้องเรียนเป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกัน และช่วยฝึกให้นักเรียนมีการฝึกการควบคุมอารณ์ และการสะท้อนอย่างต่อเนื่อง องคาพยพด้านการศึกษาของประเทศจะต้อง Focus ไปที่การมีความคิดสร้างสรรค์ หรือพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ และสนับสนุนกันและกันในการจัดกระบวนทัศน์การเรียนรู้ใหม่ๆ ในชั้นเรียนของเด็กๆ

ดังนั้นจึงเห็นว่าการใช้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณะครูทุกคน คณะกรรมการสถานศึกษา ฯลฯ ซึ่งถ้าโรงเรียนใช้ AL (Active Learning) ครูทุกคนก็ใช้ AL ในการจัดการ เรียนรู้ของเด็ก และ งานอื่นๆ ก็ให้การสนับสนุน ทั้งการบริหารบุคคล งบประมาณ และทั่วไปไม่ใช่แค่ทุกช่วงชั้น แต่ครูทุกคนเทอมที่ 1 เริ่มที่ ครู ม.2 บางคนที่เรียกว่าครูแกนนํา ต้องให้เขาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงตามหลักการที่ถูกต้องอย่างครบวงจร เพื่อการเรียนรู้และปรับกระบวนทัศน์ เป็นเรื่องสําคัญในเวลาเดียวกัน เทอม 1 ผู้บริหาร ครูวิชาการ จะต้องเรียนรู้คู่ขนานและปรับระบบบริหารด้วย Q-Goal เพราะ School-Goal คือระบบแผนงานของโรงเรียน ดังนั้น WSA. จะเกิดดูได้จาก Q-Goal ต้องมีระบบ สารสนเทศ ที่มีความสําคัญอีกระบบหนึ่ง เพราะจะช่วยเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปใช้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ต้องมี PLC เป็นเครื่องมือสําคัญเพื่อให้ครูได้ได้รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดการความรู้ (KM) ภายในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง มี Network แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน เป็นพลังกลุ่มที่ทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยกระตุ้นการพัฒนา

ซึ่งเราเรียกเครื่องมือนี้ว่า Whole School Approach หรือ WSA. ซึ่งหมายถึงการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบการบริหารจัดการ ระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบการประกัน คุณภาพภายใน ระบบการพัฒนาบุคลากร การดูแลนักเรียนให้ทั่วถึง ระบบสนับสนุน ฯลฯ

ดังนั้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process) 6 ขั้นตอนของคณะวิจัย ควรขยายผลไปให้ ทั่วถึงทุกช่วงชั้นของโรงเรียนตามความเหมาะสมของนักเรียนแต่ละช่วงชั้น

นักวิชาการในประเทศไทยจากหลายหน่วยงานจึงรวมกลุ่มกัน เดินหน้าทําวิจัยร่วมกับ OECD พัฒนาเครื่องมือประเมินและส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ทาง OECD เองเชื่อว่า เป็นแบบวัดที่สอดคล้องกับโลกยุคศตวรรษที่ 21 เครื่องมือวัดดังกล่าวจะเหนี่ยวนําพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูทั่วโลกให้เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน และในที่สุด เครื่องมือวัดนี้จะกลายเป็นคานงัดที่พลิกแนวคิดในการจัดการศึกษาจนเกิดความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างไปทั่วโลก ซึ่ง OECD คาดหวังไว้ว่าในปี 2021 เครื่องมือวัดดังกล่าวจะถูกนํามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของข้อสอบ PISA อีกด้วย โดยโครงการดังกล่าวมีประเทศภาคีที่ร่วมทําวิจัยทั้งสิ้น 14 ประเทศ ทั่วโลก

ซึ่งสามารถแบ่งเป็นเครื่องมือต่างๆ ได้ดังนี้

  1. แบบวัดความรู้ (Pre-test / Post-test)
  2. เครื่องมือวัดและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ (EPOC)
  3. แบบสอบถาม นักเรียน ครู โรงเรียน และผู้ปกครอง เพื่อสํารวจข้อมูลพื้นฐาน
  4. แบบประเมินตนเอง
  5. แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ตามสภาพจริงด้วย Rubrics

โดยเครื่องมือดังกล่าวครูทุกคนในโครงการจะได้ใช้ และตัวหลักที่เหนี่ยวนําการปรับการเรียนการสอน นั่นก็คือ “แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ตามสภาพจริงด้วย Rubrics” ซึ่ง Rubric ใน Version ของ OECD ว่า เป็นเครื่องมือเชิงกระบวนการ ที่นําเอาหัวใจสําคัญของ ระบบการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของมนุษย์ 2 สิ่งมาผสมผสานกัน สําหรับปีการศึกษา 2563-2560 คณะวิจัยมีแผนดําเนินการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อจัดทําฐานข้อมูลของ ประเทศไทยอีกครั้ง เพียงแต่ครั้งนี้จะเน้นไปที่ การคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบเป็นแม่ข่ายในการใช้เครื่องมือและสามารถขยายผลไปสู่โรงเรียนลูกข่ายซึ่งอยู่ภายในโซนพื้นที่ใกล้เคียง มาทดลองใช้เครื่องมืออย่างเข้มข้น เพื่อครูเหล่านั้นจะได้พัฒนาเป็นครูต้นแบบและเป็นทีม Coach ต่อไปได้

เพื่อให้การดําเนินการวิจัยร่วมกับองค์การโออีซีดีในปีการศึกษา 2563-2564 ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2563 – สิงหาคม 2560 มีประสิทธิภาพสูงสุด กสศ.ในฐานะหน่วยงานประสานงานประจําประเทศไทยจึงจําเป็นต้องดําเนินการระดมทรัพยากรและคณะนักวิจัยที่มีความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาเครื่องมือดังกล่าวในปีการศึกษา 2558-2559 เพื่อทํางานร่วมกับหน่วยงานภาคีวิจัย ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมูลนิธิยุวสถิรคุณ ที่ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการวิจัยการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ของเด็กเยาวชน และครูไทยในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ภายใต้วัตถุประสงค์และกรอบการดําเนินงานที่กล่าวไปนี้

1) สร้างต้นแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของครูที่เกิดจากการเรียนรู้จากเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในห้องอย่างเป็นระบบ (Whole School Approach หรือ WSA.)

2) สร้างวิทยากรแกนนําเพื่อสร้างเครือข่ายครูโรงเรียนขยายโอกาสและครูโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา สําหรับการใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนให้แก่ครูผู้สอนในการเตรียมความพร้อมผู้เรียน 

3) สร้างวิทยากรแกนนําเพื่อสร้างเครือข่ายครูโรงเรียนขยายโอกาสและครูโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษา สําหรับการใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะ การคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนให้แก่ครูผู้สอนในการเตรียมความพร้อมผู้เรียน ด้านกลไกการบริหารจัดการหรือกลไกการยกระดับคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach) 

4) สร้างความเข้าใจให้กับครูในโรงเรียน เพื่อการขับเคลื่อนโรงเรียนทั้งระบบโดยใช้ 5 มาตรการ ได้แก่ การตั้งเป้าโรงเรียน (School goal) โค้ช (Coach) การจัดการเรียนการสอน (Classroom) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) และ การสร้างเครือข่าย (Network)

1) ครูโรงเรียนแม่ข่ายและครูโรงเรียนลูกข่ายจํานวน 55 แห่ง 

2) สถานศึกษานําร่องที่มีประสบการณ์ใช้เครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จํานวนไม่น้อยกว่า 55 แห่ง 

3) สถานศึกษานําร่องที่มีประสบการณ์ด้านระบบกลไก และการบริหารแบบการยกระดับคุณภาพโรงเรียนแบบ Whole School Approach 

4) ครูผู้ทดลองใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์กลไกการพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach)

1) Coach สร้างทีมโรงเรียนแม่ข่ายให้เข้มแข็งเพื่อเป็นพี่เลี้ยงช่วยเปิดประเด็นริเริ่มการจัดกระบวนการช่วยเหลือให้โรงเรียนลูกข่ายสามารถพัฒนาตนเองได้ 

2) ครูโรงเรียนแม่ข่ายและโรงเรียนลูกข่ายมีปฏิสัมพันธ์แน่นแฟ้น (Network) โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามโรงเรียน และเรียนรู้เป้าหมายระหว่างโรงเรียน (School-Goal) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนระบบให้มีความยั่งยืน 

3) โรงเรียนบริหารจัดการให้ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการกําหนดเป้าหมายของโรงเรียน (School -Goal) โดยโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และพัฒนาอย่างเป็นระบบจนเกิดความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น 

4) โรงเรียนแม่ข่ายและโรงเรียนลูกข่ายได้รับโอกาสในการใช้ 5 มาตรการ ในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบอย่างเสมอภาค 

5) เกิดห้องเรียนคุณภาพ (Classroom) ที่ใช้กระบวนการสอนแบบ Active learning มีความยืดหยุ่นหลากหลายเหมาะสมกับความถนัดและความสนใจของผู้เรียน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันครบทุกช่วงชั้น

6) เกิดกระบวนการพัฒนาครูให้เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เกิดกระบวนการดูแลผู้เรียนอย่างทั่วถึงเพื่อการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach หรือ WSA.) 

7) โรงเรียนแม่ข่ายและโรงเรียนลูกข่าย สามารถจัดทําแผนการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการของ OECD และขยายแผนการเรียนรู้สู่ทุกช่วงชั้น 

8) ได้วิทยากรแกนนําจากโรงเรียนแม่ข่ายจํานวน 15 โรงเรียน เพื่อสร้างเครือโรงเรียนลูกข่าย 40 โรงเรียน สําหรับการใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิด วิเคราะห์ในชั้นเรียนให้แก่โรงเรียนลูกข่าย ได้ต้นแบบแผนการจัดการเรียนรู้ของครูที่เกิดจากการเรียนรู้จากเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์

9) โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าสู่กระบวนการประเมินตนเอง เพื่อนําไปสู่การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ และปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพในทุกช่วงชั้นต่อไป

จากกรอบความคิดของโรงเรียนพัฒนาตนเอง ตั้งอยู่บนหลักการสําคัญ ได้แก่ (1) ใช้การพัฒนาโรงเรียนทั้งโรงเรียน (Whole-school approach) โดยคํานึงถึงบริบทจริงของโรงเรียนในพื้นที่ยากลําบากของไทย (2) ส่งเสริมการขับเคลื่อนจากภายในโรงเรียนเป็นสําคัญ โดยบุคลากรกุญแจ (Key players) มี การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมที่สังเกตได้ บุคลากรกุญแจประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ ผู้อํานวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการ ครูแกนนํา และ (3) กระตุ้นเสริมหนุนด้วยแรงหนุนทางวิชาการและเครือข่ายจากภายนอก แรงหนุนดังกล่าวอยู่ในรูปของปัจจัยป้อนเข้า (Intervention หรือ Inputs) จํานวน 5 มาตรการ โดยมีเป้าหมายเมื่อสิ้นระยะเวลาการดําเนินงานในส่วนของโรงเรียนมี 4 ผลลัพธ์ ได้แก่ (1) คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนดีขึ้น (2) โอกาสชีวิตของนักเรียนดีขึ้น (เช่น อัตราการหลุดจากการศึกษา การขาดแผนดําเนินชีวิตลดลง) (3) การพัฒนาครูที่มีประสิทธิภาพ และ (4) ชุมชนเชื่อมั่นศรัทธาต่อโรงเรียน เพิ่มขึ้น

เครื่องมือที่นํามาใช้ในห้องเรียนเพื่อเสริมการพัฒนาโรงเรียนที่มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องทั้งระบบ (Whole School Approach) ได้ผ่านการวิจัยมาแล้วและโครงการวิจัยจะดําเนินการทํางานต่อเนื่อง แต่จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นการพัฒนาในระดับของโรงเรียน โดยอาศัยเครื่องมือที่ได้พัฒนาแล้วเป็นแกน โดยใช้วิธีสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้ให้ครูแกนนําและโรงเรียนต้นแบบ ขยายผลแนะนําครูโรงเรียนลูกข่าย โดยในแต่ละโรงเรียนจะมีบุคลากรที่สําคัญ 3 ส่วน ดังนี้

1. ครูแกนนํา ที่เป็นตัวแทนของโรงเรียนจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดก็ได้ 

2. หัวหน้าฝ่ายวิชาการ

3. ผู้อํานวยการโรงเรียน 

โดยทั้ง 3 ฝ่ายจะเป็นฟันเฟืองสําคัญที่จะทําให้เกิดวงจรการขับเคลื่อนให้การเรียนรู้และการพัฒนา โรงเรียน ในประเด็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เกิดเป็นกลไกและวงจรที่ขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นระบบนิเวศทางการเรียนรู้ โดยวงจรจะเริ่มตั้งแต่นโยบาย ในการเปลี่ยนแปลงห้องเรียน การนําไปสู่การปฏิบัติการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนําข้อมูลย้อนกลับ ไปปรับปรุงพัฒนาจนนําไปสู่นโยบายการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง และด้วยความเปลี่ยนแปลงของโครงการในรูปแบบดังกล่าว ทางโครงการเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนการสอน จะเกิดขึ้นในระดับโรงเรียนและจะสามารถสร้างโรงเรียนต้นแบบที่มีไว้ให้โรงเรียนข้างเคียงในพื้นที่ได้เข้ามาศึกษาดูงาน เพื่อนําเอา Best Practice กลับไปพัฒนาโรงเรียนของตนได้ จนเกิดการขยายผลในระดับเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป

โครงการและโรงเรียนร่วมกันดําเนินงานตามมาตรการ 5 มาตรการ เพื่อจัดระบบบริหารจัดการภายในโรงเรียน ดังนี้

1) School Goal เอื้ออํานวยให้โรงเรียนตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและวางแผนโดยให้ความสําคัญกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยการวางเป้าหมายและนโยบายของโรงเรียน ที่ทุกภาคส่วนขององค์กร กระจ่างชัดเจนว่ากําลังทําสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร โดยตระหนักรู้ด้วยว่าทุกคนมีส่วนที่จะช่วยให้บรรลุหรือไม่บรรลุ ความสําเร็จนั้น

2) Coach พี่เลี้ยงหรือผู้นําความเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนที่มีความสามารถทั้งด้านห้องเรียน และการบริหารจัดการโรงเรียน

3) Classroom คือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ บูรณาการ ด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปวัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร จนเกิดทักษะต่างๆ ในที่สุด โดยครูต้องปรับบทบาทเป็นที่ปรึกษา และอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนดําเนินการ Open House เพื่อนําเสนอผลผลิตหรือนวัตกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้มาให้กับเพื่อนร่วมชั้น รุ่นพี่ รุ่นน้อง ตลอดจนผู้ปกครอง โค้ช ศึกษานิเทศก์ ครู ฝ่ายวิชาการ ผู้อํานวยการโรงเรียน ผู้อํานวยการเขตการศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วม เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (Bich Learning Environment)

4) PLC เสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนครู (Professional Learning Community) ในการจัดการเรียนการสอนทักษะสําหรับศตวรรษที่ 2 โดยสร้างกลไกการพัฒนาบุคลากรด้วย Professional Learning Community ภายในโรงเรียน และเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่าง โรงเรียน และระบบ Coaching & Mentoring ที่มีประสิทธิภาพ

5) Network ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามโรงเรียนโดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาห้องเรียนร่วมกับเครือข่ายและการจัดการเรียนการสอนสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นกระบวนการ จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และ Focus ที่ทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับการพัฒนา 21st Century Skill

โดยกลยุทธ์การปฏิรูป หรือศิลปะในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ที่มีประสิทธิภาพ ไม่เร่งรีบ หรือช้าเกินไป แต่กินใจบุคลากรทุกคนในโรงเรียน จนมีทั้งความเชื่อและความศรัทธากับสิ่งใหม่ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโรงเรียน โดยใช้การบริหารจัดการแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) กล่าวคือ โรงเรียนต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็ว มีความยืดหยุ่นคล่องตัวในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ภายใต้การคิดที่เป็นระบบเป็นขั้นตอนเป็นตอน และครบวงจร จนสามารถพัฒนาโรงเรียนให้ เจริญก้าวหน้าได้ต่อไปอย่างรวดเร็วตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยกระบวนที่ดําเนินการทํา Open House เพื่อเพิ่ม Growth Mindset ให้กับครูและผู้บริหาร ในช่วงที่มีการสะท้อนคิดจาก Open House หลังจากรับฟังการนําเสนอของผู้เรียน โดยผู้เข้าร่วมในแต่ละครั้งสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ไม่ว่าจะเป็น ทางครู ผู้ปกครอง โค้ช ผู้อํานวยการ ศึกษานิเทศก์ และผู้ที่สนใจ

ระยะเวลาโครงการ

กรกฎาคม 2563 - มิถุนายน 2564

หมวดหมู่งานวิจัย

เอกสารดาวน์โหลด