หลักการและเหตุผล
ซึ่งฐานข้อมูลที่จำเป็นคือข้อมูลของเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำ ซึ่งมีความละเอียดและติดตามเด็กกลุ่มเดิมอย่างต่อเนื่อง เป็นจุดเชื่อมโยงที่นำไปสู่ความร่วมมือระดับชาติละระดับนานาชาติ ช่วยผลักดันให้เกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
โครงการพัฒนาข้อมูลแบบตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ โดยสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งได้นำเสนอต่อกสศ. นี้เป้นชุดข้อมูลที่มีความสมบูรณ์และครอบคลุมทุกมิติของเด็กปฐมวัยรายบุคคล ทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือน การศึกษาและสุขภาพของเด็ก รูปแบบและ พฤติกรรมการเลี้ยงดู รูปแบบและพฤติกรรมการเรียนการสอบของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่าง 1,430 ราย จาก 1,238 ครัวเรือน แม้ระหว่างการเก็บข้อมูลจะมีเด็กที่ย้ายออกจากพื้นที่สำรวจและผู้ปกครองปฏิเสธการสัมภาษณ์ในรอบนี้ประมาณ 60 ราย แต่ก็ถือว่าการเก็บข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำครั้งนี้เป็นที่น่าพอใจ
ทั้งนี้จากข้อมูลที่ได้พบว่าการจัดการเรียนรรู้ในระดับปฐมวัยที่มีคุณภาพในศูนย์เด็กเล็กจะสามารถช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมเกือบทุกด้าน ส่วนในกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับบิดามารดา จะส่งผลเสียด้านสติปัญญาและด้านคณิตศาสตร์ ขณะที่เด็กปฐมวัยที่เล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต จะทำให้ความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ ความจำขณะทำงาน ด้านสังคมและอารมณ์ลงดลง รวมทั้งยังมีแนวโน้มกลายเป็นเด็กหางแถวด้านสติปัญญา โดยหลักจากนี้หาก กสศ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้ใช้ฐานข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำนี้ ก็จะทำให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการพัฒนาทุนมนุษย์ นำไปสู่การออกแบบนโยบายด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านอื่นๆสามารถลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างยั่งยืน