องค์การยูเนสโก ได้เล็งเห็นว่าท้องถิ่นเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Institute for Lifelong Learning – UIL) จึงได้จัดตั้งเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC) เพื่อช่วยรัฐบาลท้องถิ่นพัฒนากลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้
เมืองแห่งการเรียนรู้ หมายถึง เมืองที่มีการใช้ทรัพยากรในทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนให้เกิดการการเรียนรู้สำหรับประชาชนทุกคนและทุกระดับ โดยมีการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ มีการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ คือ
- ส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา
- ส่งเสริมการเรียนรู้ในครอบครัวและชุมชน
- ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน
- ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
- ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศในการเรียนรู้
- สนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง
ในปัจจุบัน เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้มีทั้งหมด 229 เมือง จาก 64 ประเทศ[i] โดยประเทศไทยมีเมืองที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ 4 เมือง ได้แก่ เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลนครเชียงใหม่ และเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
ประโยชน์ของเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้
- ได้รับคำแนะนำ รับทราบแนวทางและได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาเมืองตามกรอบเมืองแห่งการเรียนรู้
- ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์การดำเนินงานกับเครือข่าย ฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเมืองที่เป็นสมาชิกฯ
- มีสิทธิ์ในการสมัครเข้ารับ รางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ (UNESCO Learning City Award)[1]
เกณฑ์การเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้
การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ โดยผู้บริหารระดับท้องถิ่นเป็นแกนนำร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ มีเกณฑ์การประเมิน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
ประเด็นขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้
(การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน)
-สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่างๆ ในสังคม
-ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
-สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
แนวทางเพื่อนำไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้
(การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต)
-ส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐาน จนถึงอุดมศึกษา
-ส่งเสริมการเรียนรู้ในครอบครัวและชุมชน
อำนวยความสะดวกให้มีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในสถานที่ทำงาน
-ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ทันสมัย
-ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศในการเรียนรู้
-สนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างเข้มแข็ง
เงื่อนไขพื้นฐานในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้
(การบริหารจัดการเชิงนโยบาย และการขับเคลื่อนเชิงระบบอย่างมีส่วนร่วม)
-การมีเจตจำนงค์และความมุ่งมั่นทางการเมืองที่เข้มแข็ง
-พัฒนาระบบธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม
-สนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
การสมัครเป็นสมาชิก
เป็นเมือง/หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีจำนวนประชากรอย่างน้อย 10,000 คนขึ้นไป
เมืองบริหารงานโดย สภาเทศบาล หรือสภาอื่นที่ได้รับการเลือกตั้ง โดยผู้บริหารของเมืองจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ และ
นำแนวทางของเครือข่าย UNESCO GNLC
มาปรับใช้ในการพัฒนาเมืองตามบริบท ของประเทศ
มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในอันที่จะส่งเสริมเมืองของตน
ตามกรอบแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รายละเอียดตามเอกสาร
1) ปฏิญญากรุงปักกิ่งว่าด้วยการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ (Beijing Declaration on Building Learning Cities)
2) คุณสมบัติของเมืองแห่งการเรียนรู้ (Key Features of Learning Cities)
[1] รางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ (UNESCO Learning City Award) จะมอบแก่เมืองที่เป็นสมาชิกเครือข่าย GNLC ที่เป็นตัวอย่างในการส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยพิจารณาจากความก้าวหน้าในการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ตามเกณฑ์การประเมินใน UNESCO Global Network of Learning Cities guiding documents ทุก 2 ปี
ขั้นตอนการสมัคร
รับสมัคร
1 มี.ค. – 30 เม.ย.
พ.ค.
National Committee
คัดเมืองเข้าเป็นสมาชิก
(ไม่เกิน 3 เมือง/ปี)
เสนอชื่อเมือง
เพื่อให้สถาบัน Uil พิจารณา
มิ.ย.
ประกาศผลเครือข่าย
เม.ย. ปีถัดไป
เมืองสมัครเข้ารับรางวัลเมือง
มิ.ย. ประกาศผล
รางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้
ขั้นตอนการสมัคร
- ดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บไซต์ UNESCO GNLC (http://learningcities.uil.unesco.org/home)กรอกแบบฟอร์มใบสมัคร และประทับตราเมือง และลงลายมือชื่อนายกเทศมนตรี/ผู้บริหารเมือง
- ส่งใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องมายัง สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพ ฯ 10300 โทร. 02 281 0565 ต่อ 115 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2564
- คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติคัดเลือกเมืองที่มีคุณสมบัติของการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ จำนวนไม่เกิน 3 เมือง เสนอไปยังสถาบัน UIL เพื่อพิจารณาให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย GNLC
- สถาบัน UIL ประกาศรายชื่อเมืองที่รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกเครือข่าย GNLC ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564
* การสมัครเข้าเป็นสมาชิก ฯ ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ ข้อผูกมัดใด ๆ
[i] UNESCO. The UNESCO Global Network of Learning Cities welcomes 54 new member cities from 27 countries. Retrieved September 23, 2020, from https://uil.unesco.org/lifelong-learning/learning-cities/unesco-global-network-learning-cities-welcomes-54-new-member