เข้าสู่ระบบ

โครงการการพัฒนาเครื่องมือออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อโรงเรียนกับชุมชน ดำเนินงานโดย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เล็งเห็นถึง ความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงเรียนเพื่อให้เกิดหลักสูตร ตลอดจนวิธีการเรียนรู้ที่เอื้อให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทที่เป็นจริงในแต่ละพื้นที่

ความคืบหน้า 100%

การจัดทําเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

เพื่อเชื่อมร้อยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมได้มองเห็นความเป็นไปของชุมชนในทุกมิติ โดยมีความมุ่งหมายว่าการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ School Concept ที่มาจากความร่วมมือของทุกฝ่ายในสังคมจะช่วยให้เกิดความเข้าใจสภาพชีวิตที่มีความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียนในแต่ละพื้นที่มากยิ่งขึ้น

ดังนั้น โครงการจึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการอออกแบบการเรียนรู้ School concept ในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนจริง มีการประเมินผล การถอดบทเรียนและสกัดองค์ความรู้ เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลภายในขอบข่ายการเรียนรู้หรือนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทของโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักที่ให้การสนับสนุนทุนให้กับครูในสังกัดโครงการในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 8 โรงเรียน ประกอบด้วย 1) โรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน 2) โรงเรียนบ้านหนองแวง 3) โรงเรียนมิตรภาพ 6 4) โรงเรียนบ้านกุดขนวน 5) โรงเรียนบ้านนาดีสร้างบง 6) โรงเรียนบ้านนาคำหลวง 7) โรงเรียนชุมชนสามพร้าว และ 8) โรงเรียนบ้านน้ำพ่น

1.เพื่อพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลบริบทโรงเรียนที่เป็นองค์กรประกอบสำคัญต่อการออกแบบ School concept อย่างเป็นระบบ

2.ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ข้อมูลบริบทโรงเรียนเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการและสมรรถณะของผู้เรียน

3.เกิดแนวทางพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Tranformation) ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบการจัดการศึกษาในบริบทอื่นๆ ของประเทศไทยต่อไป

ระยะเวลาโครงการ

1 กรกฎาคม 2564 - 23 พฤศจิกายน 2564

หมวดหมู่งานวิจัย

เอกสารดาวน์โหลด