หลักการและเหตุผล
โครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กเชิงระบบด้วยโรงเรียนแม่ข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการ โดยมูลนิธิเพื่อทักษะแห่งอนาคต ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. เป็นหนึ่งในเครื่องมือประเมินและส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับโลกยุตศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะนำพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูทั่วโลกที่เน้นทักษะการคิดให้ผู้เรียนมาพลิกแนวคิดในการจัดการศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นวงกว้าง
สพฐ.ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ก่อนจะทำแบบวัดความรู้ เครื่องมือวัดและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ แบบสอบถามบุคลากรทางการศึกษาเพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐาน และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ตามสภาพจริง ทั้งนี้เครื่องมือดังกล่าวจะนำเอาหัวใจของระบบการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของมนุษย์ 2 สิ่งมาผสมผสานกัน ทั้งแบบ Active Learning กับ Formative Assessment ให้เกิดเป็นกระบวนการใหม่ในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและกิจกรรมที่สนุกสนานท้าทายให้กับผู้เรียน
ทั้งนี้ภายหลังถอดบทเรียนก็พบว่าครูยังคงต้องใช้เวลาในการปรับตัว เพราะเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดกิจกรรรมของครูระหว่างการคิดแบบ Divergent กับการคิดแบบ Convergent แล้วค่อนข้างใกล้เคียงกัน ยกเว้นเมื่อแยกตามกลุ่มสาระ จึงจะมองเห็นความแตกต่าง ทำให้ในการทำโครงการระยะที่ 2 มีโรงเรียนเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า หรือประมาณ 120 โรงเรียน จึงจำเป็นต้องพัฒนาคู่มือให้เป็นแนวทางพัฒนาแผนการสอนที่สามารถพัฒนาทักษะผู้เรียนได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น