บทนำ
สืบเนื่องจากโครงการวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลธิ์มาตรการเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไขต่อพฤติกรรมและความมุ่งมั่นของนักเรียนยากจนพิเศษระยะที่ 1 แสดงผลลัพธ์ว่ากลุ่มนักเรียนที่ด้อยโอกาสให้ค่าคาดการณ์ทั้งด้านรายได้ในอนาคตของตนเองไว้ต่ำ และยังมีการมองอาชีพในอนาคตค่อนข้างแคบกว่านักเรียนเด็กกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มานี้สะท้อนว่าผู้ปกครองและนักเรียนยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับผลตอบแทนจากการศึกษาและอาชีพ และมีความเป็นไปได้ที่พวกเขาอาจติดอยู่ในกรอบความคิดที่เชื่อว่าอนาคตของพวกเขาไม่น่าจะดีกว่าเดิมได้
ด้วยเหตุนี้ โครงการฯในระยะที่ 2 จึงต้องการติดตามวัดผลสัมฤทธิ์ต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมเพื่อทำให้สามารถเข้าใจวิธีคิดด้านรายได้ และอาชีพในอนาคตของกลุ่มนักเรียนด้อยโอกาสมากขึ้น รวมถึงหามาตรการที่ช่วยทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นในตนเองและอนาคตมากกว่าที่เป็นอยู่ หรืออีกนัยหนึ่ง คือเพิ่มเติมกิจกรรมเพื่อพัฒนา“Growth Mindset”หรือ“กรอบความคิดแบบเติบโต”ที่ช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นว่าสมองและผลลัพธ์ที่ดีสามารถพัฒนาได้จากความพยายาม โดยสถานะที่ติดตัวไม่ใช้สิ่งที่กำหนดผลลัพธ์ในอนาคตเสมอไป และความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช้ความล้มเหลวหากแต่เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กระตุ้น Growth Mindset นี้จำเป็นต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งตัวแปรต้นทางกลางทาง และผลลัพธ์ปลายทาง กล่าวคือตัวแปรต้นทาง (Direct output of intervention) หมายรวมถึงกลไกแทรกแซ่งที่เชื่อว่ามีผลต่อกลุ่มตัวอย่างซึ่งในที่นี้คือความรู้ ความเข้าใจในข้อมูลอาชีพและรายได้ รวมถึงการรับหลักการGrowth Mindset ในการเรียน ส่วนตัวแปรกลางทาง (Moderators) เป็นสิ่งที่อาจได้รับอิทธิพลจากตัวแปรต้นทาง ซึ่ง ณ ที่นี้คือพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน รวมถึงการใช้เวลาและปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ผู้ปกครองและกลุ่มเพื่อน โดยตัวแปรกลางทางช่วยกระตุ้นให้เกิด Human capital inputsเพื่อสร้างผลลัพธ์ปลายทาง ซึ่งคือทุนมนุษย์ (Human capital achievements) ที่วัดผลผ่านทักษะทางปัญญา(Cognitive skill) และทักษะทางพฤติกรรม (Non-cognitive skill)ดังนั้นกิจกรรมของโครงการในระยะที่ 2 นี้ จึงออกแบบมาตรการเพื่อกระตุ้น Growth Mindset ร่วมด้วยการตรวจสอบผลของมาตรการดังกล่าว ว่าประสบผลในการปรับเปลี่ยนวิธีคิดไปสู่ Growth Mindset ของนักเรียนมากน้อยเพียงใด โดยใช้การทดลองภาคสนาม (Field experiment) เป็นสนามในการทดสอบมาตรการแทรกแซ่ง (Interventions) ลักษณะต่าง ๆ อันได้แก่ การใช้หลักสูตรกรอบความคิดแบบเติบโตหลักสูตรเกี่ยวกับอาชีพในศตวรรษที่ 21 หรือองค์ประกอบทั้งสองหลักสูตรร่วมกัน (โดยหลักสูตรทั้งหมดออกแบบให้สอดคล้องกับอายุของกลุ่มตัวอย่าง) รวมถึงใช้แนวทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral economics) ในการใช้แรงจูงใจทางการเงิน (Financial incentive) และไม่ใช้การเงิน เพื่อไว้วัดผลความอ่อนไหวในการปรับพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างในกรณีต่าง ๆ ซึ่งการวัดผลทั้งก่อนการแทรกแซ่ง และหลังการแทรกแซง (ถ้าเป็นไปได้จะวัดผลอีกครั้งหนึ่งโดยทิ้งช่วงหลังการแทรกแซ่ง 2-3 เดือน) จะทำให้ทราบถึงประโยชน์ได้ว่าควรใช้หลักสูตรแบบใดควบคู่กับการแทรกแซ่งเชิงพฤติกรรมแบบไหนถึงทำให้เกิดการปรับความคิด ทัศนคติ อย่างสัมฤทธิ์ผล
เนื้อหาของรายงานนี้ประกอบด้วยรายละเอียดการทดลองภาคสนามในบทที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยการออกแบบการทดลอง หลักสูตรต่าง ๆ ที่ใช้เป็นมาตรการแทรกแซ่ง จำนวนโรงเรียน นักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมการวิจัย ผลการศึกษาจากการทดลองภาคสนามในบทที่ 3 ซึ่งครอบคลุมผลการศึกษาของการให้หลักสูตรเพื่อพัฒนาการคิดแบบเติบโตและการให้ข้อมูลอาชีพ รวมถึงการให้หลักสูตรผู้ปกครองต่อพัฒนาการของเด็กทั้งในด้านทักษะทางสติปัญหาและทักษะทางด้านอารมณ์ นอกจากนั้นในบทนี้ทางทีมวิจัยได้รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการจ่ายเงินให้กับผู้ปกครองต่างชวงเวลามีผลต่อการใช้จ่ายเงินที่ได้รับในค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบัตรหลานและค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับบัตรัหลานแตกต่างกัน หรือไม่ และในบทที่ 3 ได้มีการรายงานผลจากการประชุมกลุ่มย่อยกับโรงเรียนหลังจบการทดลองภาคสนามเพื่อรับฟังความคิดเห็นรวมถึงข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการการให้หลักสูตรเพื่อให้สามารถนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ในบทที่ 4 ได้รายงานผลการเก็บข้อมูลต่อเนื่องในปีที่ 2เกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนโยบายอุดหนุนนักเรียน และบทที่ 5 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะที่พบจากการศึกษาครั้งนี้