หลักการและเหตุผล
จากการศึกษาโดย กัลยา ตีระวัฒนานนท์ และคณะ (2555) ในปี 2554-2555 ซึ่งเป็นการประเมินความถูกต้อง และความเป็นไปได้ในการตรวจคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติในเด็กระดับชั้นอนุบาลและประถมโดยคุณครู ศึกษาในโรงเรียนจํานวน 17 แห่ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎรธานี ลําพูน นครพนม และสมุทรปราการสํารวจสายตาเด็กไทยอายุ 3-12 ปี พบเด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติร้อยละ 6.6 และจําเป็นต้องใส่แว่นสายตาร้อยละ 4.1 ในจํานวนนี้มีเด็กใส่แว่นแล้วก่อนหน้าการคัดกรองเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น แต่ปรากฏว่าแว่นเดิมที่เด็กใส่มีความถูกต้องตามค่าสายตาเด็กเพียงแค่ร้อยละ 0.25 ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะมีเด็กที่มีสายตาผิดปกติ 5.7 แสนคน โดย 3.5 แสนคนจําเป็นต้องใส่แว่น มีเด็กที่ตัดแว่นแล้ว 8 หมื่นคน แต่ใส่แว่นถูกต้องกับค่าสายตาประมาณ 2 หมื่นคน ดังนั้นยังคงมีเด็กมากกว่า 3 แสนคนที่จําเป็นต้องใส่แว่น ทั้งนี้ภาวะสายตาที่ผิดปกติที่นําไปสู่ภาวะตาบอดในเด็กไทยเป็นกลุ่มโรคที่หลีกเลี่ยงได้ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างเหมาะสมทันเวลา (WHO, 2001 and CLansingh et al, 2013).
จากการศึกษาดังกล่าว กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพัฒนา โครงการเด็กไทยสายตาดี เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ ตามนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ปีงบประมาณ 2559-2560(โครงการเด็กไทยสายตาดี)ซึ่งรับผิดชอบโดยกรมอนามัยเพื่อแก้ไขปัญหา นอกจากนั้นการคัดกรองสายตาในเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ยังถูกบรรจุเป็นเป้าหมายในแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) พ.ศ. 2561-2565 ของกระทรวงสาธารณสุขด้วย มีสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนงบประมาณ ทั้งนี้ในปี 2559 สปสช. ได้รายงานว่ามีการประสานให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นศูนย์กลางในการจัดหาแว่นตาให้กับหน่วยบริการ สนับสนุนงบประมาณให้กรมอนามัยพัฒนาศักยภาพและกลไกเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ ตรวจคัดกรอง ตามแนวทางการดําเนินโครงการเด็กไทยสายตาดี รับรองโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสนับสนุนค่าตรวจคัดกรองและบริการรักษา โดยได้จัดสรรรวมในงบเหมาจ่ายให้หน่วยบริการ (คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาตา, 2559) อย่างไรก็ตามจากการติดตามผลการดําเนินงานของโครงการเด็กไทยสายตาดีพบว่ายังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการทั้งการวัดสายตา การส่งต่อเด็กที่มีปัญหาสายตาผิดปกติเพื่อเข้ารับการรักษา และรับแว่นสายตาที่สถานพยาบาล การแก้ไขปัญหาภาวะผิดปกติทางสายตาในเด็กตามโครงการเด็กไทยสายตาดี มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนในผลลัพธ์ ทางสุขภาพ ได้แก่ การลดภาวะตาบอด การแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติในเด็ก และเพิ่มคุณภาพชีวิตของเด็ก (WHO,2001) นอกจากนั้นยังพบว่ามีแนวโน้มในการเพิ่มผลลัพธ์ด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น เพิ่มอัตราการมาโรงเรียน และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการศึกษาผลลัพธ์ที่นอกเหนือจากผลลัพธ์ทางสุขภาพที่เกิดจากการแก้ไขภาวิผิดปกติทางสายตา รวมถึงไม่มีเครื่องมือที่ใช้วัดผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงระหว่างการแก้ไขภาวะผิดปกติทางสายตากับผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความสําคัญในการสนับสนุนการปรับปรุง/ขยายโครงการเด็กไทยสายตาดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มการมีส่วนร่วม หรือหุ้นส่วนในนโยบายสาธารณะที่มีเป้าหมายเดียวกันคือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ดังนั้นการพัฒนาหลักฐานเชิงประจักษ์สําหรับผู้กําหนดนโยบายนอกภาคสาธารณสุข ในกรณีนี้คือผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ที่เกิดจากการแก้ไขภาวะผิดปกติทางสายตาโดยการให้แว่นตาตามแนวทางของโครงการเด็กไทยสายตาดี จึงเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีความสําคัญ