เข้าสู่ระบบ

งานวิจัยฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเป็นภาคต่อของการดูแลอนาคตของพวกเราทุกคน เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กไทยทุกคนมีอนาคตที่ดี เพื่อที่ประเทศไทยจะมีอนาคตที่ดีตามไปด้วย เป็นคำถามที่มีคำตอบได้หลากหลาย และหวังว่างานวิจัยครั้งนี้ จะเป็นค้าตอบหนึ่งในคำถามที่ส้าคัญนั้น

ความคืบหน้า 100%

โครงการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ เพื่อการดูแลเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส ในกรณีที่ปัญหามีความซับซ้อน

หลักการและเหตุผล

การจัดการรายกรณี (Case Management) หมายถึง การรวมกระบวนการร่วมที่ทำการประเมินวางแผน ปฏิบัติ ประสานงาน ติดตาม และประเมินผลทางเลือกและบริการ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของบุคคลที่มีความต้องการด้านต่าง ๆ โดยใช้การสื่อสารและทรัพยากรที่มีอยู่ในการสนับสนุนผลลัพธ์ที่มีคุณภาพและคุ้มค่า[53] นอกจากนี้ ยังมีการให้ความหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการรายกรณีอีกว่า หมายถึงแบบแผนการดำเนินงานที่ครอบคลุมงานด้านการบริการบุคคลต่าง ๆ อาทิ งานสุขภาพจิต งานผู้สูงอายุ งานสวัสดิการเด็ก สุขภาพและความบกพร่องทางพัฒนาการ การจัดการรายกรณีถูกมองว่าเป็นวิธีการเพื่อการบริการที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น มีความต่อเนื่องมากขึ้น แก่ผู้รับบริการ[54] การจัดการรายกรณีสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในองค์กรเดี่ยวและองค์กรขยาย หรือเกิดขึ้นภายใต้โปรแกรมการบริการที่มีการบริการจากหลายภาคส่วนมาประกอบกัน [53] ทั้งนี้ การจัดการรายกรณีจำเป็นต้องมีแผนการบริการเพื่อให้สามารถบริหารจัดการบริการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการอย่างครบถ้วนและไม่ซ้ำซ้อน

แผนจัดการรายกรณี (Case Management Plan) หมายถึง การกำหนดเวลาและกิจกรรมการบริการแก่ผู้รับบริการรวมถึงกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับในแผนจัดการรายกรณี ซึ่งการบริการเป็นผลจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แผนจัดการรายกรณีเป็นการวางแผนล่วงหน้าโดยทีมสหวิชาชีพหรือจากภาคส่วนต่างๆ. ที่เกี่ยวข้องต่อการบริการ การบริหาร การช่วยเหลือ การประสานงาน และการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบัน กระบวนการช่วยเหลือบุคคลถูกพัฒนาขึ้นในทุกภาคส่วนเนื่องจากแนวคิดการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน (Social Protection Floor: SPF) ซึ่งเป็นสิทธิเบื้องต้นที่ประชาชนทุกคนในประเทศหนึ่ง ๆ ได้รับการพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง[53] ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ หน่วยงานที่แตกต่างกันย่อมมีขอบเขตในการช่วยเหลือบุคลตามขอบเขตหน้าที่ การจัดการรายกรณีจึงเป็นกระบวนการปฏิบัติงานที่ช่วยตัดขอบเขตข้อจำกัดระหว่างการบริการแก่บุคคลในภาคส่วนต่าง ๆ ให้สามารถมีการประสานเชื่อมโยงได้มากขึ้นทั้งในภาคส่วนของงานสุขภาพจิต ผู้สูงอายุ เด็ก สุขภาพ และสังคมเพื่อให้บุคคลได้รับบริการหรือสิทธิประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องจนบรรลุวัตถุประสงค์แห่งการช่วยเหลือหรือการรับบริการ การจัดการรายกรณีถูกจัดให้เป็นวิธีการดูแลผู้รับบริการที่มีบทบาทความสำคัญในการดูแลผู้รับบริการในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดการรายกรณียังคงต้องการนิยามการปฏิบัติการและมโนทัศน์ที่ชัดเจน รูปแบบการทำงานของการจัดการรายกรณีมีขอบเขตกว้าง ๆ ใน 3 ระดับ ได้แก่ การให้บริการและ/หรือคำแนะนำการตระหนักในระบบที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดสรรทรัพยากร และการเชื่อมประสานการทำงานหรือการสนับสนุนเครือข่ายการให้บริการ

1.2.1 พัฒนาระบบสวัสดิการขั้นพื้นฐานในลักษณะของการให้การดูแลเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส
ในกรณีที่ปัญหามีความซ้ำซ้อน

1.2.2 พัฒนาคู่มือและขั้นตอนการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสกลุ่มปัญหาซ้ำซ้อน เพื่อให้
พร้อมกับการใช้งานในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป

1.2.3 จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการช่วยเหลือ ดูแล และลดความเหลื่อมล้ำสำหรับกลุ่มเด็กและ
เยาวชนยากจนและด้อยโอกาสที่มีปัญหาซ้ำซ้อน

1.การเก็บข้อมูล
1.1 การเก็บข้อมูลเชิงเอกสาร
1.2 การสัมภาษณ์

2.การคัดเลือกกรณีศึกษา

3. การแบ่งประเภทปัญหาของเด็กและเยาวชนตามสภาพของกลุ่มปัญหา
กลุ่มปัญหาที่ 1 กลุ่มปัญหาวิกฤติ
กลุ่มปัญหาที่ 2 กลุ่มปัญหาที่ต้องได้รับการบำบัดฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มปัญหาที่ 3 กลุ่มปัญหาจากสถานการณ์เฉพาะ
กลุ่มปัญหาที่ 4 กลุ่มปัญหาสืบเนื่องมาจากสภาพวิถีชีวิต/แหล่งที่อยู่อาศัยส่งผลกระทบ

ระยะเวลาโครงการ

กันยายน 2562 - กันยายน 2563

หมวดหมู่งานวิจัย

เอกสารดาวน์โหลด