TCAS ปี 2565
– นักเรียนทุนเสมอภาค (โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข) และนักเรียนทุนปัจจัยพื้นฐาน (ทุนอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน) จำนวน 148,021 คน
– สมัครสอบ TCAS จำนวน 31,865 คน
– ยืนยันสิทธิ์ 20,018 คน
– ไม่ยืนยันสิทธิ์ 11,847 คน
= นักเรียน 128,003 คนที่เหลือ หายไปไหน?
สาเหตุที่นักเรียน 128,003 คน ไม่ได้ไปต่อระดับอุดมศึกษา
– ขาดแคลนทุนทรัพย์
– ระบบการศึกษาไม่ตอบโจทย์ชีวิต ไม่มีคณะที่ชอบ
– หันไปศึกษาต่อสายอาชีพแทน
– ผลพวงจากโควิด-19 ต้องออกจากโรงเรียนไปหางานทำ
(ภาพตัวอย่าง)
ค่าสมัคร (อาจทำเป็นรูปบิล/ใบเสร็จ)
– รอบที่ 1 ยื่นแฟ้มผลงาน (portfolio) ค่าสมัคร 200-1,000 บาท
– รอบที่ 2 โควตา (quota) ค่าสมัคร 200-600 บาท
– รอบที่ 3 แอดมิชชัน (admission) สามารถเลือกได้ 10 อันดับ ค่าสมัคร 150-900 บาท (ขึ้นอยู่กับจำนวนอันดับที่เลือก)
– รอบที่ 4 รับตรงอิสระ (direct admission) ค่าสมัคร 200-1,000 บาท
สถานะของนักเรียนยากจนพิเศษ
– รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน
– ขาดแคลนทุนทรัพย์
– ครอบครัวมีภาวะพึ่งพิง
– นักเรียนต้องทำงานหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว
– นักเรียนเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา
สร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษา
การสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษา จะช่วยเพิ่มอัตราการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของเด็กยากจนได้
– จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษ
– การให้ทุนต้องสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพในปัจจุบัน
– เป็นการลงทุนเพื่อสร้างความเสมอภาค
– ลดเงื่อนไข สร้างโอกาส เพิ่มทางเลือกให้เด็กยากจน
ที่มา
https://www.eef.or.th/fund/support-poor-students/
https://www.eef.or.th/infographic-130123/