เข้าสู่ระบบ

กสศ. CCE โดยคุณ Paul Collard และสพฐ. ร่วมกันจัดอบรม“โครงการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา” ให้กับครูแกนนำ จาก สพม. 9 เขต โดยใช้ 6 ขั้นตอนของ OECD เป็นเครื่องมือหลักในการศึกษาอบรม

ความคืบหน้า 100%

โครงการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา

หลักการและเหตุผล

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา   พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดูแคลนทุนทรัพย์  ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 5 (3) เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการในการจัดการเรียนการสอน หรือจัดให้มีการศึกษาวิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาครูให้เรียนการสอน สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน และมาตรา 5(6) ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาครูให้มีจิตวญญาณของความเป็นครูมีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาโดยมีแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้ง มาตรา 5 (7) ในการดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษา วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาสนองความต้องการทางด้านกำลังแรงงาน และการยกระดับความสามารถของคนไทย และในช่วงที่ผ่านมา องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development-OECD) ได้เชิญประเทศไทยเข้าร่วมโครงการวิจัยพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์  (Creativity and Critical Thinking Skills in Education Meeting) และเชิญให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) (สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ในขณะนั้น) เป็นหน่วยประสานงานประจำประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 – ปัจจุบัน

ผลการดำเนินงานการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์โดย สพฐ. ร่วมกับ สสวท. มูลนิธิยุวสถิรคุณ กสศ. และOECD ได้พัฒนาเครื่องมือทดสอบ และปรับปรุงเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งขยายผลการใช้เครื่องมือในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. ครอบคลุม 440 โรงเรียน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าผลจากการดำเนินงานวิจัยพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียน ในปีการศึกษา 2559-2560 พบว่าข้อสอบวัดความรู้คณิตศาสตร์ -วิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์  (STEM) กลุ่มทดลองที่เรียนแบบส่งเสริมการคิดเชื่อมโยงประยุกต์  ทำคะแนนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น สำหรับการประเมิน Evaluation of Potential Creativity(EPoC) เป็นการความสามารถด้านทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางด้านมานุษยวิทยา การคิดสร้างสรรค์ทางด้านมานุษยวิทยาแบบเอนกนัย (Divergent – DT) ความสามารถด้านทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มทดลองมีพัฒนาการมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ในขณะที่กลุ่มควบคุมที่สอนแบบเดิมนักเรียนทำข้อสอบได้ลดลง 1 ดังนั้นเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ที่OECD พัฒนาขึ้น สพฐ. จึงมีแผนที่จะขยายผลทั้งประเทศ ผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ที่มี 42เขตทั่วประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ครูและผู้เรียนของประเทศไทยได้นำไปใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมิน PISA 2021 ที่จะเน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ได้ต่อไป

ดังนั้นกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จึงได้พัฒนา โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องมือและกระบวนการเสริมสร้างและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียน (ระดับมัธยมศึกษา)ที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการนำเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนสำหรับเตรียมความพร้อมผู้เรียนในการประเมิน PISA 2021 ที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทย ไปใช้และขยายผลผ่านวิทยากรแกนนำ และเครือข่ายครูมัธยมศึกษา รวมทั้ง ศึกษานิเทศก์ 42 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำหรับการใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนให้แก่ครูผู้สอน ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้เยาวชนไทยเป็นผู้มีทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้ในที่สุด

1) พัฒนาเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนสำหรับเตรียมความพร้อมผู้เรียนในการประเมิน PISA 2021 ที่สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของประเทศไทย

2) พัฒนาและสร้างวิทยากรแกนนำเพื่อสร้างเครือข่ายครูมัธยมศึกษา และศึกษานิเทศก์ 42 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำหรับการใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนให้แก่ครูผู้สอน

3) พัฒนาแนวทาง-หลักสูตรการอบรมวิทยากรแกนนำและพี่เลี้ยงครูและถ่ายทอดกระบวนการจัดการเรียนการสอนและเครื่องมือที่พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ให้แก่ครูผู้สอนในการเตรียมความพร้อมผู้เรียนในการประเมิน PISA 2021

4) พัฒนาโรงเรียนต้นแบบที่ใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนทุกชั้นเรียนของโรงเรียน จำนวน 100 โรงเรียน

5) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือภาคีนโยบายทั้งในและต่างประเทศ ในการพัฒนานักเรียนไทยให้เป็นผู้มีทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียน

6) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรองรับขยายผลการใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ไปในชั้นเรียนสำหรับเตรียมความพร้อมผู้เรียนในการประเมิน PISA2021

1) ทบทวนและพัฒนาหลักสูตรเพิ่มทักษะแบบเข้มข้น สำหรับวิทยากรแกนนำที่เป็นครูมัธยมศึกษาและศึกษานิเทศก์รวมกับผู้เชี่ยวชาญ / ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก OECD

2) อบรมหลักสูตรเพิ่มีทักษะแบบเข้มข้น สำหรับวิทยากรแกนนำที่เป็นครูมัธยมศึกษาและศึกษานิเทศก์  เพื่อการฝึกอบรมจำนวน 250 คน จาก 84 โรงเรียน และสพม. 42 เขตพื้นที่การศึกษา 6 ประเด็น คือ
(1) การทดสอบระดับการคิดผู้เรียน
(2) การสร้าแรงบันดาลนด่ลใจเพื่อออกแบบหัวข้อการเรียนรู้
(3) การวางแผนการเรียนรู้
(4) การจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ
(5) การประเมินตนเองผ่านกิจกรรมการสะท้อนตัวตน
(6) การเน้นย้าซ้ำทวนและชวนคิดต่อยอด

3) ทดลองนำร่องใช้เครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่งครอบคลุมไม่ต่ำกว่าจำนวน 84 โรงเรียน
(1) จัดส่งเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์พร้อมคู่มือการดำเนินงานที่เป็นภาษาไทยให้แก่ครูและสถานศึกษานำร่อง
(2) ลงพื้นที่ติดตามการทำงานของสถานศึกษานำร่องอย่างน้อย 8 ครั้ง เพื่อให้การทดลองนำร่องเป็นไปตามแนวทางการวิจัยของอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) บันทึกข้อมูลและกรณีศึกษาจากการใช้เครื่องมือของครูและสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
(4) รวบรวมข้อมูลผลการทดสอบของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเตรียมจัดส่งให้OECD

4) จัดเวทีแลกเปลี่ยนและถอดบทเรียนประสบการณ์ (PLC) การทดลองนำร่องเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์รวมทั้งข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือดังกล่าวแก่ OECD และเพื่อการใช้ประโยชน์ในประเทศไทยต่อไปในอนาคต

5) บันทึกข้อมูลเชิงปริมาณของครูผู้เรียน และสถานศึกษา จากแบบสอบถาม แบบทดสอบ Pre-Test และPost-Test และแบบทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์  ตามแบบฟอร์มของ OECD

6) จัดทำและนำเสนอร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ซึ่งประกอบด้วย
(1) คู่มือและCD ประกอบการอบรม
(2) รายงานสรุปผลการทดลองเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ 
(3) ฐานข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
(4) ข้อเสนอแนะ/ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการปรับปรุงเครื่องมือส่งเสริมและประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์และแนวทางการขยายผลการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดังกล่าวในประเทศไทย

7) นำส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และOECD

ระยะเวลาโครงการ

พฤษภาคม 2563 - เมษายน 2564

หมวดหมู่งานวิจัย

เอกสารดาวน์โหลด