เข้าสู่ระบบ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ให้การรับรอง “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)” 17 ประการ ในการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติครั้งที่ 70 (70th UN General Assembly) ณ กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 เพื่อเป็นแนวทางหลักในการวางแผนพัฒนาโลกด้านต่างๆ ในระยะ 15 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2559 - 2573) ในส่วนของเป้าหมายด้านการศึกษานั้นถูกกําหนดให้เป็นเป้าหมายที่ 4 (SDG4) คือ การศึกษาที่เท่าเทียม

ความคืบหน้า 50%

โครงการพัฒนาเครื่องมือและจัดเก็บข้อมูลความก้าวหน้าในการพัฒนาเด็ก เยาวชน และแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัด ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4)

หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ให้การรับรอง “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)” 17 ประการ ในการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติครั้งที่ 70 (70th UN General Assembly) ณ กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 เพื่อเป็นแนวทางหลักในการวางแผนพัฒนาโลกด้านต่างๆ ในระยะ 15 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2559 – 2573) ในส่วนของเป้าหมายด้านการศึกษานั้นถูกกําหนดให้เป็นเป้าหมายที่ 4 (SDG4) คือ การศึกษาที่เท่าเทียม โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาด้านโอกาสและคุณภาพในการจัดการศึกษา สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all) ครอบคลุมการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่จ่ายได้ และมีคุณภาพสําหรับทุกคน และในภาพรวมเยาวชนและประชาชนสามารถอ่านออกเขียนได้และคํานวณได้ เน้นขจัดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาของทุกกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้เพิ่มจํานวนผู้ที่มีทักษะทางเทคนิคและอาชีพสําหรับการจ้างงานและการเป็นผู้ประกอบการ เน้นให้ทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จําเป็นสําหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย ในเชิงนโยบาย เป้าหมายนี้เน้นให้มีการยกระดับอุปกรณ์ที่จําเป็นทางการศึกษาต่อเด็ก ผู้พิการและผู้มีเพศสภาวะหลากหลาย และสร้างสภาพแวดล้อมให้ปราศจากความรุนแรงต่อกลุ่มเหล่านี้ ขยายโอกาสด้านทุนการศึกษาและการฝึกอบรมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และเพิ่มจํานวนครูที่มีคุณภาพผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู และตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 กําหนด วัตถุประสงค์ (7) ดําเนินการหรือจัดให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการนําองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ําในการศึกษา สนองความต้องการทางด้านกําลังแรงงานและการยกระดับความสามารถของคนไทย และมาตรา 29 ให้มีสํานักงานมีหน้าที่และอํานาจตาม (3) ศึกษา วิจัย ค้นคว้า และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ของกองทุน และ (4) สนับสนุนและเผยแพร่ผลการศึกษา วิจัย ค้นคว้าและพัฒนาองค์ความรู้ ตาม (3) และการนําผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินการดังกล่าว

ภารกิจสําคัญของสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) คือ การจัดให้มีการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้และนําความรู้ไปใช้ในการลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา สนองตอบความต้องการด้านกําลังแรงงานและยกระดับความสามารถของคนไทย กองทุนฯ จึงเห็นควรให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือสําหรับใช้ ในการสํารวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ในระดับจังหวัดขึ้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานระดับจังหวัดทราบและตระหนักถึงสถานะของตนเอง มีข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดําเนินงาน จัดการปัญหาและประเด็นท้าทายที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของจังหวัด และเพื่อให้ กสศ. มีข้อมูลสําหรับให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น รวมถึงการรายงานความก้าวหน้าในการดําเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ต่อองค์การสหประชาชาติและสาธารณะด้วย

แม้ว่าปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ จะได้พัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดเพื่อติดตามประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนากลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอยู่บ้างแล้วก็ตาม แต่ยังมีข้อจํากัดหลายประการ อาทิ ตัวชี้วัดเดิมยังไม่สะท้อนมิติการพัฒนาที่เป้าหมาย SDG4 นโยบายและแนวทางการพัฒนาประเทศที่สําคัญ อาทิ Thailand 4.0 และวัตถุประสงค์ที่ กสศ. ให้ความสําคัญได้อย่างเหมาะสม และตัวชี้วัดที่มีอยู่ไม่สามารถบ่งชี้สถานการณ์ที่มีบริบทแตกต่างกันไปรายจังหวัด ฯลฯ จึงจําเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือสํารวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDG4 ในระดับจังหวัด ซึ่งเป็นระดับที่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ สามารถร่วมมือกันบริหารจัดการเพื่อยกระดับการเรียนรู้และลดความไม่เสมอภาคทางการศึกษาได้ตรงจุด อย่างไรก็ดี การประเมินความก้าวหน้าในระดับจังหวัดให้ครอบคลุมทั่วประเทศจําเป็นต้องใช้เวลาและทรัพยากรมาก กสศ. จึงเห็นควรให้เริ่มดําเนินการดังกล่าวอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการพัฒนาและทดสอบเครื่องมือ ต่อด้วยการปฏิบัติการเก็บข้อมูลในพื้นที่นําร่อง และค่อยๆ ขยายให้ครบทุกพื้นที่ (จังหวัด) ผลการดําเนินงานดังกล่าวจะนําไปสู่การสังเคราะห์ ข้อมูลเพื่อนําเสนอความก้าวหน้าและวาระหลัก (Agenda based) ที่เป็นประเด็นท้าทายต่อการขับเคลื่อน ความก้าวหน้าทางการศึกษาในมิติต่างๆ

การดําเนินงานในโครงการฯ นี้ จะเป็นการพัฒนาเครื่องมือสํารวจความก้าวหน้าระดับจังหวัด และนําเครื่องมือดังกล่าวไปทดลองเก็บข้อมูลในจังหวัดนําร่อง โดยการคัดเลือกพื้นที่เก็บข้อมูลและการประสานคณะทํางานเพื่อจัดเก็บ (ซึ่งคาดว่า จะใช้สถาบันอุดมศึกษาในระดับภูมิภาคและระดับพื้นที่ในการรับผิดชอบ เนื่องจากในระยะยาวจะมีการจัดเก็บให้ครบถ้วนทั้ง 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานครต่อไป)

1) เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องมือสํารวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) นโยบายและแนวทางการพัฒนาประเทศที่สําคัญ อาทิ Thailand 4.0 และวัตถุประสงค์ของ กสศ.

2) เพื่อจัดเก็บ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัดตามต้นแบบเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในข้อ 1) ใน 3 จังหวัดนําร่อง

3) เพื่อจัดทําข้อเสนอการดําเนินงานและข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาและขยายผลการดําเนินงานสู่ทั่วประเทศ

4) เพื่อให้จังหวัดมีเครื่องมือสําหรับใช้ในการประเมินสถานการณ์ความก้าวหน้าในการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ภายในจังหวัด รวมถึงวาระหลัก (Agenda based) ที่ต้องให้ความสําคัญ

5) เพื่อให้ กสศ. จังหวัด และประเทศมีเครื่องมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และนําไปใช้ในการรายงานความก้าวหน้าการดําเนินงาน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ต่อองค์การสหประชาชาติและสาธารณะ

ประกอบด้วย

1) การยกร่างหลักคิดในการพัฒนาเครื่องมือสํารวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) นโยบายและแนวทางการพัฒนา ประเทศที่สําคัญ อาทิ Thailand 4.0 และวัตถุประสงค์ของ กสศ. สําหรับเป็นเครื่องมือให้จังหวัดใช้ประเมินสถานการณ์ความก้าวหน้าและกําหนดวาระหลัก (Agenda based) เพื่อการพัฒนา

2) การศึกษาและรวบรวมนโยบาย ตัวชี้วัด วิธีการเก็บข้อมูลและแหล่งที่มาของข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ของหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงผลงานศึกษาวิจัยอื่นๆ

3) การสังเคราะห์ คัดเลือกและพัฒนาตัวชี้วัดที่จําเป็นต่อการสํารวจความก้าวหน้าฯ ระดับจังหวัด และพัฒนาแบบสอบถามสําหรับตัวชี้วัดที่ยังไม่มีข้อมูล โดยการประสานหารือกับ กสศ. ในการคัดเลือกพื้นที่แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในจังหวัดที่มีความร่วมมือกับ กสศ. เนื่องจากคํานึงถึงโอกาสที่จะประสบความสําเร็จในการจัดเก็บข้อมูลและสามารถใช้เป็นตัวอย่างในการขยายผลการดําเนินงานไปยังจังหวัดอื่นๆ ในระยะต่อไป โดยได้ข้อสรุปให้มีการทดสอบเครื่องมือดังกล่าวในจังหวัดกาญจนบุรี และจัดเก็บข้อมูล 3 จังหวัดนําร่อง คือ จังหวัดเชียงใหม่ สุรินทร์และสงขลา

4) การนําเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นไปทดสอบในสถานศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรีใน 2 อําเภอ คือ อําเภอเมืองและอําเภอเลาขวัญ เพื่อสํารวจข้อมูลปฐมภูมิในสถานศึกษาของจังหวัด พร้อมทั้งประมวล ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง แล้วจัดทําเป็นรายงานผลการสํารวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และแรงงานรุ่นใหม่ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ของจังหวัดกาญจนบุรี

5) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง เพื่อนําเสนอแนวคิดการดําเนินงานโครงการ เครื่องมือสํารวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยชุดตัวชี้วัดและแบบสัมภาษณ์/แบบสอบถาม รวมทั้งผลการทดสอบเครื่องมือ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคต่างๆ ต่อหน่วยงานที่จัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูลทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค

6) การเก็บข้อมูลใน 3 จังหวัดนําร่อง (เชียงใหม่ สุรินทร์และสงขลา) คณะวิจัยได้จัดทําแผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อสํารวจข้อมูล (รายละเอียดตามหัวข้อที่ 4.1) เตรียมความพร้อมทีมงานในการเก็บข้อมูลในพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ประมวลผลข้อมูลและจัดทํารายงานผลการสํารวจฯ รายจังหวัด

7) การขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนหน่วยงานการศึกษาระดับพื้นที่ของ 3 จังหวัดนําร่องและผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานส่วนกลาง เพื่อนํามาปรับเครื่องมือฯ และประกอบการจัดทํารายงานฉบับสมบูรณ์ และรายงานผลการสํารวจฯ รายจังหวัดต่อไป