เข้าสู่ระบบ

เพื่อสนับสนุนมาตรการยกระดับคุณภาพสถานศึกษา กสศ.ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสร้างหลักประกัน โอกาสทางการเรียนรู้

ความคืบหน้า 100%

โครงการวิจัยส่งเสริมและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

หลักการและเหตุผล

ตามที่พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 มีผลให้จัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมาตรา 47 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ ภาระผูกพัน เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง และเงินงบประมาณของสํานักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนไปเป็นของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

โครงการวิจัยปฏิบัติการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุน งบประมาณจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อการจัดระบบพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่เกิดจากความสมัครใจของสถานศึกษา โดยอาศัยหลักการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement-CQI) ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรทั้งโรงเรียนระยะเวลาสองปี (พฤษภาคม 2560 ถึง เมษายน 2562) โดยโครงการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับภารกิจของ กสศ. ในการส่งเสริม สนับสนุน และ ให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา เพื่อให้มีการเรียนการสอนที่ทําให้ผู้เรียนสามารถรู้และพัฒนาได้ตามความถนัดและศักยภาพของตน

มาตรการสําคัญเพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา จากการทบทวนประสบการณ์จากต่างประเทศขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี พบว่า การพัฒนาและใช้ระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นเครื่องมือสําคัญในการลดช่องว่างทางคุณภาพระหว่างโรงเรียน กรณีศึกษาของบราซิลมีประชากรประมาณ 199 ล้านคน ภูมิประเทศกว้างใหญ่และหลากหลาย ช่องว่างฐานะของประชากรค่อนข้างมาก แต่การปฏิรูปการศึกษาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาตรการสําคัญของบราซิล ได้แก่พัฒนาและใช้ระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Basic Education Development Index: IDEB) เป็นเครื่องมือสําคัญในการลดช่องว่างทางคุณภาพระหว่างโรงเรียน ระบบข้อมูลนี้เป็นเครื่องมือในการดําเนินมาตรการปฏิรูปการดําเนินงานของโรงเรียนต่างๆ เช่น การจัดการแรงจูงใจบุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหาร การส่งเสริมความรับผิดชอบของโรงเรียน การจัดงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ําและเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นต้น IDEB ทําหน้าที่ดังเครื่องรับสัญญาณ (Sensor) และระบบแจ้งเตือน (Warning System) ให้รัฐบาลและคนทั้งประเทศได้รู้ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เช่น การไม่มาเรียน การหลุดออกนอกระบบ ของนักเรียนรายคน สถานะและผลการดําเนินงานของโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ผู้บริหารทุกระดับรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจส่งผลให้ทุกโรงเรียนกระตือรือร้นที่จะพัฒนาคุณภาพ

เพื่อสนับสนุนมาตรการยกระดับคุณภาพสถานศึกษา กสศ.ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสร้างหลักประกัน โอกาสทางการเรียนรู้ ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Quality learning Information System หรือ Q-Info) และทดลองนําร่องในโรงเรียนในโครงการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องจํานวน 198 แห่งซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ยากลําบาก ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนมัธยมขยายโอกาส ในภาพใหญ่ของประเทศโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายนี้จัดเป็นกลุ่มโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยต่ําที่สุด (นอกเหนือจากโรงเรียนขนาดเล็ก) ใน 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน เชียงราย ลําปางสุโขทัย เพชรบุรี ชลบุรี กาญจนบุรีและ อยุธยา สุรินทร์ อํานาจเจริญ สุราษฎร์ธานีและภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เกิดการใช้ข้อมูลเพื่อเป็นเครื่องมือในการกําหนดนโยบายด้านการศึกษา การติดตามเปรียบเทียบคุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียน และพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ซึ่งเป็นกลไกสําคัญในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ผ่านกระบวนการส่งเสริมความรับผิดชอบ (Accountability) หรือ กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Key Stakeholders) ต่อโอกาสทางการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่

จากการวิเคราะห์การทํางาน Q-Info ของโรงเรียนในระยะที่ผ่านมา (พฤษภาคม 2560 – กันยายน 2561) พบว่า โรงเรียนมีพัฒนาการแตกต่างกัน โดยเป็นกลุ่มระดับดีมากร้อยละ 19.1 ระดับดีร้อยละ 29.6 ระดับท้าทายร้อยละ 51.1 เพื่อส่งเสริมและยกระดับให้การดําเนินงาน Q-info ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา เพื่อให้มีการเรียนการสอนที่ทําให้ผู้เรียนสามารถรู้และพัฒนาได้ กสศ. จึงจัดทําโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน จึงเป็นที่มาของโครงการ

1) เพื่อพัฒนาระบบ Innovative Classroom Management System (ICMS) ตามแนวคิดห้องเรียนประสิทธิภาพสูง

2) ศึกษาวิจัยตัวชี้วัดและเครื่องมือติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง

3) สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนคุณภาพต่อเนื่องในการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศในการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างระบบ Classroom Management System (CMS) ตามแนวทางของหลักการ “ห้องเรียนประสิทธิภาพสูง High Functioning Classroom” ที่ สถาบัน Creativity Culture & Education แห่งสหราชอาณาจักรและองค์การ OECD ร่วมกันพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21

ครูและผู้บริหารสถานศึกษา ที่ใช้ระบบข้อมูล Q-Info ได้แก่ ครูผู้สอน ครูประจําชั้น งานวิชาการ และผู้อํานวยการโรงเรียนในโรงเรียนนําร่องจํานวน 198 โรงเรียน ในพื้นที่ 14 จังหวัด ซึ่งเป็นโรงเรียนในพื้นที่ยากลําบาก ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนมัธยมขยายโอกาส ในภาพใหญ่ของประเทศโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายนี้จัดเป็นกลุ่มโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยต่ำที่สุด

1) ศึกษาวิจัย Modules ใหม่ ที่เสริมให้ห้องเรียนกลายเป็นห้องเรียนประสิทธิภาพสูงและสอดคล้องกับความต้องการและกระบวนการทํางานในโรงเรียน เช่น การจัดการเรียนการสอน การช่วยเหลือนักเรียน การจัดเก็บข้อมูล ตัวบ่งชี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนโดยมี

  • การศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบ เช่น การจัด workshop สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เชิงลึก (In-depth Interview) การศึกษาและทํางานร่วมกับจากทีมพัฒนา (Development) และทีมวิจัย (Research) ของโครงการ 
  • กําหนดรายละเอียดข้อมูลที่ได้จากการศึกษาระบบงาน
  • วิเคราะห์ระบบปัจจุบัน เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา 
  • สรุปความต้องการของผู้ใช้ (Requirement) 
  • ออกแบบระบบ (Systern Design)

2) ศึกษาวิจัยตัวบ่งชี้และเครื่องมือติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง 

3) พัฒนาระบบ Q-info เพิ่มเติมในส่วนของ Modules/Features ที่สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนในข้อ 1) และช่วยสนับสนุนการติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียนผ่านตัวบ่งชี้และเครื่องมือในข้อ 2) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องของโรงเรียน

4) ยกระดับศักยภาพการทํางานของโรงเรียนในระดับต่างๆ ให้สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาให้เกิดแกนนําที่สามารถเป็นวิทยากรขยายผลให้แก่โรงเรียนในเครือข่ายได้ 

5) ติดตาม ประเมิน และสังเคราะห์บทเรียนการทํางานของโรงเรียน 198 แห่งในพื้นที่ 14 จังหวัด

1) รายงานผลการศึกษาวิจัย 

2) Modules/Features ของระบบ Q-info เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องให้แก่โรงเรียนเพิ่มเติม 2 Module/Features ที่เน้นเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ห้องเรียนกลายเป็น “ห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High Functioning Classroom)” 

3) ตัวบ่งชี้และเครื่องมือการติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียน 

4) Modules/Features ของระบบ Q-info ด้านการติดตามความก้าวหน้าของโรงเรียน 

5) รายงานผลการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนจํานวน 198 แห่งในพื้นที่ 14 จังหวัดในการยกระดับ และศักยภาพในการใช้ระบบสารสนเทศได้อย่างต่อเนื่อง

ระยะเวลาโครงการ

พฤษภาคม 2560 - เมษายน 2562

หมวดหมู่งานวิจัย

เอกสารดาวน์โหลด