เข้าสู่ระบบ

การนำเสนอข่าวเรื่อง PISA มักจะมุ่งไปในเชิงเปรียบเทียบโดยที่คะแนน PISA ของประเทศไทยมักจะได้อยู่ฝั่งที่ด้อยกว่าอยู่เสมอ แต่การเปรียบเทียบไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของการแพ้-ชนะ แต่สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้และพัฒนาสำหรับระบบการศึกษาต่างๆ

ความคืบหน้า 100%

การประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากลเพื่อการพัฒนาสถานศึกษา (PISA for Schools)

หลักการและเหตุผล

การประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากล หรือ PISA (Programme for International Student Assessment) โดย องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เป็นการทดสอบสมรรถนะผู้เรียน อายุ 15 ปี ซึ่งดำเนินการจัดขึ้นทุก 3 ปี ทั่วโลก จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2000 ปัจจุบันมีประเทศหรือกลุ่มเศรษฐกิจเข้าร่วมการประเมินจำนวนกว่า 79 ประเทศ มีนักเรียนกว่า 200,000 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง ประเทศไทยได้เข้าร่วมการทดสอบ PISA อย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรกเริ่ม โดยในปี 2018 มีโรงเรียนจากประเทศไทยเข้าร่วมการทดสอบ 290 โรงเรียน นักเรียน 8,633 คน

ตั้งแต่เริ่มต้นการทดสอบในปี ค.ศ. 2000 การประเมิน PISA กลายเป็นแหล่งข้อมูลที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และกลายเป็นตัวชี้วัดสำคัญด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ (learning outcome) สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของปลายประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดทางกระบวนการสถิติ จึงทำให้ข้อมูล PISA ยังไม่สามารถสะท้อนผลสำหรับนักเรียนในรายบุคคลหรือในระดับสถานศึกษาได้อย่างแม่นยำ

เพื่อให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล PISA เพื่อการพัฒนาโรงเรียนของตัวเองได้ ในปี ค.ศ. 2013 OECD จึงได้พัฒนา PISA-based Test for Schools ขึ้น ภายใต้โครงการ PISA for Schools ซึ่งจะสามารถรายงานผลอย่างละเอียดในระดับสถานศึกษา โดยผลการประเมินจากโครงการฯ จะสามารถเทียบเคียงผลการทดสอบ PISA ได้ โรงเรียนจึงสามารถประเมินพัฒนาการของตนเองเทียบกับโรงเรียนอื่น ๆ จากทั่วโลก รายงานระดับสถานศึกษา (School Report) จะช่วยแสดงให้เห็นถึงความสามารถของนักเรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาใหม่ ๆ ไม่เน้นการวัดความสามารถในการท่องจำ นอกจากนี้ แบบสอบถามแนบท้ายการประเมินยังช่วยให้เห็นถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐฐานะของผู้เรียนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ในปี ค.ศ. 2021 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จึงร่วมกับ OECD และสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดำเนินโครงการ PISA for Schools โดยในปีแรกของการดำเนินโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการยืนยันคุณภาพเครื่องมือการประเมิน (validation study) ในประเทศไทย มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 66 โรงเรียน

วิธีดำเนินการ

ในปี พ.ส. 2564 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันวิจัยเพื่อประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (RIPED) ดำเนินโครงการ PISA for Schools ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนสถานศึกษาให้เข้าถึงข้อมูลคุณภาพสูงเพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนการพัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้อย่างทั่วถึง และสร้างความเสมอภาคในระดับสถานศึกษาอย่างยั่งยืน

PISA for Schools บ่งบอกข้อมูลอะไรได้บ้าง

แบบประเมินสมรรถนะ Pisa for Schools ได้รับการออกแบบให้สามารถวัดความสามารถของผู้เรียนในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาในบริบทที่แปลกใหม่ โดยใช้ความรู้ใน 3 ด้าน

  • การอ่าน
  • คณิตศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์

นอกจากนี้ ชุดแบบสำรวจยังสามารถให้ข้อมูล

  • ทักษะทางอารมย์และสังคม (Socio – emotional skill)
  • แรงจูงใจการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • มุมมองของผู้เรียนต่อความสัมพันธ์และการจัดการเรียนการสอน
  • สถานการณ์ความเสมอภาคของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ภายในสถานศึกษา

1) สนับสนุนให้โรงเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานสากลในระดับสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน

2) สนับสนุนให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ทั้งจากในประเทศและทั่วโลก

3) เพื่อให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ด้านการวัดและประเมินผลตามมาตรฐานสากล การวิเคราะห์ผล การรายงานผล การใช้ประโยชน์