เข้าสู่ระบบ

ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้้าทางการศึกษาเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูโดยการบริหารจัดการทรัพยากรด้านงบประมาณให้มีประสิทธิภาพเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมความเสมอภาค กสศ. จึงได้ร่วมสนับสนุนการจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติเพื่อเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลการลงทุนด้านการศึกษา

ความคืบหน้า 100%

แนวทางการจัดงานทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการด้านการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

หลักการและเหตุผล

ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้้าทางการศึกษาเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยการบริหารจัดการทรัพยากรด้านงบประมาณให้มีประสิทธิภาพเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมความเสมอภาค กสศ. จึงได้ร่วมสนับสนุนการจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติเพื่อเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการวิเคราะห์และประเมินผลการลงทุนด้านการศึกษา ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ให้หน่วยงานและกองทุนอื่นๆ ตามกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องตามนัยมาตรา 6 ของร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (เทียบเท่ากับ มาตรา 5 ของพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561) รับข้อสังเกตุของนายกรัฐมนตรีและสำนักงบประมาณเกี่ยวกับการด้าเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยให้เสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาพิจารณาให้ความเห็นประกอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไปนี้งานวิจัยบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2551-25591 พบว่า ในปีงบประมาณ 2559 ประเทศไทยได้มีการลงทุนด้านการศึกษามากถึง 878,878 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.1 ของจีดีพีโดยเป็นการลงทุนของภาครัฐเป็นหลัก จำนวน 684,497 ล้านบาท เทียบเท่ากับร้อยละ 4.8 ของจีดีพี ซี่งหากพิจารณาการลงทุนด้านการศึกษาของภาครัฐตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 จนถึง 2559 มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 6.2 ต่อปี อีกทั้งแผนงานด้านการศึกษายังได้รับการจัดสรรงบประมาณสูงสุดกว่าร้อยละ 20 นอกจากนี้ เมื่อเทียบการลงทุนด้านการศึกษาของภาครัฐไทยกับต่างประเทศยังพบว่า การลงทุนของภาครัฐไทยอยู่ในระดับเทียบเคียงกับค่าเฉลี่ยของการลงทุนด้านการศึกษาของโลก (ร้อยละ 4.9) และค่าเฉลี่ยประเทศ OECD (ร้อยละ 5.2) และสูงกว่าหลายๆ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น (ร้อยละ 3.6) อินโดนีเซีย (ร้อยละ
3.6) และสิงค์โปร์ (ร้อยละ 2.9)

1) เพื่อสังเคราะห์ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดทำงบประมาณเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์(Situation Analysis) และผลตอบแทนจากการจัดทำงบประมาณเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ส้าหรับเด็กและเยาวชนวัย 0-24 ปี

3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางและตัวชี้วัดการจัดท้างบประมาณในลักษณะบูรณาการด้านการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Equity-based Budgeting for Education) ที่เหมาะสมและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

4) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการจัดท้างบประมาณในลักษณะบูรณาการด้านการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Equity-based Education Budgeting)

  • ทบทวนศึกษา และวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis) การจัดทำงบประมาณทางการศึกษาของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องส้าหรับเด็กวัย 0-24 ปี พิจารณาความสัมพันธ์ของการจัดทำงบประมาณต่อความเหลื่อมล้้าทางการศึกษา การให้บริการทางการศึกษา ผลลัพธ์ทางการศึกษารวมถึงการวิเคราะห์การกระจายประโยชน์ (Benefit Incidence) ของงบประมาณการศึกษาของภาครัฐ
  • จัดการประชุม (Focus Group) สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) รวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และวิเคราะห์ข้อเสนอการจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัว (Funding Formula) ที่ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา โดยให้พิจารณาเปรียบเทียบกับรูปแบบการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาของภาครัฐที่เป็นที่ยอมรับ (Best Practice) ในระดับนานาชาติ
  • จัดการประชุม (Focus Group) สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) รวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และวิเคราะห์แนวทางการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเพื่อความเสมอภาคกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
  • ประเมินผลกระทบต่อความเสมอภาคทางการศึกษา และภาระทางการคลังที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินตามแนวทางการในการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการด้านการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(Equity-based Budgeting for Education)
  • จัดทำคำของบประมาณด้านการศึกษาของหน่วยงานภาครัฐตามข้อเสนอ Funding Formula และสอดคล้องกับแนวทางการการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการด้านการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นกรณีต้นแบบในการน้าข้อเสนอข้างต้นมาปรับใช้ได้จริง
  • จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendation) ซึ่งให้ครอบคลุมถึงขั้นตอนและแผนดำเนินงาน (Transition Plan) เพื่อให้นำแนวทางการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการด้านการศึกษาเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Equity-based Budgeting for Education) มาขยายผลต่อไป ประมาณการระยะเวลา รวมถึงข้อเสนอแนะทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง