เข้าสู่ระบบ

ตามที่พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ระบุไว้ในมาตรา 5(7) กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาให้ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา

ความคืบหน้า 100%

โครงการพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินความพร้อมของ เด็กและเยาวชนในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน

หลักการและเหตุผล

ตามที่พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561 ระบุไว้ในมาตรา 5(7)กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาให้ดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาสนองความต้องการทางด้านกำลังแรงงานและการยกระดับความสามารถของคนไทย นั้นถือเป็นภารกิจสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ตามรายงานของเวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF)เมื่อปี 2016 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อผู้นำเศรษฐกิจโลกได้เห็นตรงกันแล้วว่าโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 แล้ว (4th Industrial Revolution) ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่สำคัญ 4-5 ด้านได้แก่ (1) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) (2) ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automation) (3) อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things: IOT) และ (4) คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing) ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้ระบบการทำงานในอุตสาหกรรมและการบริการต่างๆ มีความ “ฉลาดขึ้น” และ “ไม่ต้องการคน” ในการทำงานอีกต่อไป โรงงาน สายพานการผลิต คอมพิวเตอร์ และระบบการให้บริการต่างๆ จะสามารถทำเองคิดเองได้แทบทั้งหมด

1 เพื่อพัฒนาเครื่องมือการสำรวจสถานะความพร้อมของเด็กและเยาวชนในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน
ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของไทย

2 เพื่อพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ระบบประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานแบบ
ออนไลน์พร้อมทั้งระบบฐานข้อมูลที่พร้อมรองรับข้อมูลรายจังหวัดทั่วประเทศต่อไป


3 เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานของนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้นใน 5 จังหวัดให้พร้อมนำเสนอสู่สาธารณะ


4 เพื่อพัฒนาเครือข่ายการวิจัย สำหรับการเก็บข้อมูล นิเทศ-ติดตาม และให้คำปรึกษาสำหรับ
รองรับการขยายผลการเก็บข้อมูลทั่วประเทศภายในปี 2564 ต่อไป

1.ศึกษาทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ และขอบเขตการดำเนินงานของโครงการ

2.วางแผนการดำเนินงานโครงการการจัดกิจกรรม การจัดทำรายงานให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการส่งงวด

3.ศึกษาทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ

4.ประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาระบบการสำรวจสถานะความพร้อมของเด็กและเยาวชนในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทั้ง 5 จังหวัดในแต่ละพื้นที่ผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 40 คน

5.ออกแบบพัฒนาเครื่องมือการสำรวจสถานะความพร้อมของเด็กและเยาวชนในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน

6.พัฒนาต้นแบบ (Prototype)ระบบประเมินความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานแบบออนไลน์พร้อมทั้งระบบฐานข้อมูล

7.ทดลองระบบการประเมินในสถานศึกษา

8.ปรับปรุงระบบการประเมินนำความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานแบบออนไลน์พร้อมทั้งระบบฐานข้อมูล

9.สรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาระบบ

10.จัดทำเล่มรายงานสมบูรณ์

ระยะเวลาโครงการ

มกราคม 2563 - ธันวาคม 2563

หมวดหมู่งานวิจัย

เอกสารดาวน์โหลด