เข้าสู่ระบบ

จาก “ไฮสโคป” สู่ “School Readiness”เครื่องมือ สร้างความพร้อมเด็กอนุบาล สู่พลเมืองที่“คิดเป็น”เสียงเจื้อยแจ้วเด็กน้อยเดินแถวเรียงหนึ่งไปตามถนนในหมู่บ้านมุ่งหน้าท้องนาเขียวขจีในสัปดาห์นี้เด็กๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองตอกแป้นเรียนรู้เรื่อง“ข้าว” เด็กๆ จึงได้ออกมาเรียนรู้ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนอย่างมีความสุข

ความคืบหน้า 100%

โครงการสำรวจและประเมินความพร้อมเด็กปฐมวัยเข้าสู่ระบบการศึกษา (School readiness)

หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญต่อรากฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งในปัจจุบันหน่วยงานของภาครัฐได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยได้มีการจัดทำพระราชบัญญัติ การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 ซึ่งได้กำหนดไว้ในหมวด 1 มาตรา 5 เรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีใจความว่า “ให้พัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครบทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ปลูกฝังคุณลักษณะที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม การสร้างจิตสำนักที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย รวมถึงผู้ดูแลเด็กต้องมีความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย” จากงานวิจัยหลายหน่วยงาน ระบุตรงกันว่า การพัฒนาเด็กในช่วง 0 – 6 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากการพัฒนาการทางสมองของเด็กจะเติบโตอย่างรวดเร็วถ้าเด็กได้รับการพัฒนาที่สอดคล้องต่อพัฒนาการและการเรียนรู้นี้ถือเป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญต่อไปในอนาคต ซึ่งการพัฒนาเด็กปฐมวัยถือได้ว่าเป็นการสร้างรากฐานในการพัฒนาชีวิตที่สำคัญซึ่งจะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศในด้านอื่น ๆ ตามมา ดังที่ ศ.ดร.เจมส์ เจ เฮคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลประจำปี พ.ศ. 2542 กล่าวไว้ว่า “การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว โดยให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคต 7-10 เท่า”

แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันกับพบว่าเด็กในช่วงปฐมวัยถูกละเลย ทอดทิ้งจากพ่อแม่ ดังที่ ดารณี อุทัยรัตนกิจ (2562) ได้กล่าวถึง การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 – 2559 พบว่า เด็กอายุระหว่าง 0 – 4 ปี ในประเทศไทย ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เนื่องจากครอบครัวยากจน จึงฝากเด็กไว้กับ ปู่ย่าตายายหรือสมาชิกคนอื่น ๆ ของครอบครัวในจังหวัดบ้านเกิด รวมถึงเด็กในชุมชนเมืองที่พ่อแม่มีฐานะ สามารถจ้างคนเลี้ยงดูเด็กได้ เด็กจะถูกฝากไว้กับพี่เลี้ยงที่ถูกว่าจ้างมา โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติ สอดคล้องกับข้อมูลจากองค์กร Unicef (2561) ที่ได้สำรวจปัญหาและความท้าทายต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย พบว่า พ่อแม่มีการทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับเด็ก เพียงร้อยละ 34 และ ร้อยละ 15 ของเด็กไม่ได้เข้าเรียนในระดับปฐมวัยซึ่งส่งผลกระทบต่อเรื่องภาวะความไม่พร้อมต่อการเรียนรู้ ความไม่พร้อมทางด้านภาษา การขาดความรักความดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่ที่เด็กควรได้รับจากพ่อและแม่ นอกจากนี้ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยได้สำรวจเด็กปฐมวัยในปี พ.ศ. 2555 พบประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัย คือเด็กขาดการดูแลที่ดีและมีคุณภาพ โดยมีเด็กอายุ 2-5 ปี จำนวน 911,111 คน หรือร้อยละ 30 ของเด็กในช่วงอายุ2-5 ปี อยู่ในการดูแลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีมาตรฐานในระดับขั้นต่ำ และยังไม่มีมาตรฐานกลางในการดูแลและการให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัย ทำให้มีความหลากหลายในการพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กเนื่องจากในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาดูแลศูนย์เด็กเล็ก เช่น กรมอนามัย กระทรวงพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานต่างดำเนินงานตามแผนงานของแต่ละหน่วยงาน

การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพนั้นจะต้องอาศัยผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องที่ทำหน้าที่ในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะการดูแลเด็กปฐมวัยในระบบการศึกษาให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามหลักวิชาการแล้วเด็กก็จะสามารถเติบโตไปเป็นคนที่ดีมีคุณภาพส่งผลดีต่ออนาคตของสังคมและประเทศชาติด้วยดังนั้น การศึกษาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี โดยมีสถานศึกษา
ปฐมวัยที่เป็นของภาครัฐ และเอกชน ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาเด็กให้มีความพร้อมทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้มีทักษะชีวิต และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการอาศัยอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

  1. เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็ก และครูผู้ช่วยของประเทศไทยใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
  2. เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูปฐมวัยของ 6 ประเทศ ในการจัดทำข้อเสนอการพัฒนาสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็ก และครูผู้ช่วย
  3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในการผลิตครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็กและครูผู้ช่วย
  4. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยผู้ดูแลเด็ก และครูผู้ช่วย
  5. เพื่อจัดทำข้อเสนอต่อข้อเสนอกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในการปฏิรูประบบผลิต และพัฒนาครู ครูผู้ช่วย และผู้ดูแลเด็ก
  6. เพื่อจัดทำข้อเสนอต่อข้อเสนอกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็ก และครูผู้ช่วย
  • งานวิจัยระยะที่หนึ่ง การสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับระบบผลิตและพัฒนาครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็ก และ ครูผู้ช่วยของประเทศไทยใน 2 ทศวรรษ ที่ผ่านมา (พ.ศ.2542-พ.ศ.2562) และสังเคราะห์องค์ความรู้การผลิตและพัฒนาครูปฐมวัยของ 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงฯ
  • งานวิจัยระยะที่สอง เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ในการผลิตครูปฐมวัยฯ และแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยผู้ดูแลเด็ก และครูผู้ช่วย
  • งานวิจัยระยะที่สาม เป็นการจัดทำข้อเสนอต่อกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ครูผู้ช่วย และผู้ดูแลเด็ก และข้อเสนอในการพัฒนาสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็ก และครูผู้ช่วย

ระยะเวลาโครงการ

ตุลาคม 2562 - มีนาคม 2563

หมวดหมู่งานวิจัย

เอกสารดาวน์โหลด