แต่ง: Jassica Dum barlett, Rebecca Vivrette
เผยแพร่: 3 เมษายน 63
ในช่วง โควิด 19 ระบาด และความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงนี้ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและความเป็นอยู่ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการพยายามอดทนกับวิถีชีวิตที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป เช่นการเว้นระยะห่าง หรือ การกักตัวอยู่ในบ้าน และครอบครัวของพวกเค้าต้องดิ้นรนเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ อัตราความยากจน การไร้งานทำ ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของผู้ปกครอง การใช้สารเสพติด การละเลยหรือการทำร้ายเด็ก ความรุนแรงต่อผู้ใกล้ชิด ต่างก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เด็กต่างก็ไม่ได้รับการสนับสนุนให้ได้รับความต้องการที่จำเป็น อันเนื่องมาจากการมีการบริการทางสังคมที่จำกัด และผู้ใหญ่ไม่สามารถติดต่อเด็กได้โดยตรง ตามการค้นคว้ากว่า สี่สิบปีในเรื่องการฟื้นฟูสุขภาพจิตนี้ ก็ยังมีข่าวดีที่ว่า มีปัจจัยป้องกัน ซึ่งปัจจัยป้องกันนี้สามารถกันเด็กจากอันตรายและเพิ่มสามารถเพิ่มโอกาสที่เด็กจะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โควิด 19 นี้ได้ ทางครอบครัวและชุมต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างปัจจัยป้องกัน ปัจจัยป้องกัน #1 ความอ่อนโยน การตอบสนอง ต่อผู้ดูแล ปัจจัยหลักๆในการฟื้นฟูสุขภาพจิตของเด็กจากเหตุการณ์อันโหดร้ายต่างๆได้ก็คือการได้อยู่กับผู้ใหญ่ที่อ่อนโยนและใส่ใจ เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพในช่วงโควิด 19นั้น การได้รับการปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนี่องและเป็นปรกติกับผู้ใหญ่ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับอายุนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่นเด็กเล็กต้องการปฏิสัมพันธ์แบบต่อหน้ามากกว่าเด็กโต ซึ่งเด็กโตสามารถติดต่อทางสื่อสมมติได้ ผู้ปกครองและพ่อแม่ สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้
- ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพกับเด็ก ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น การเล่นกับเด็ก อ่านหนังสือ ออกนอกบ้าน หรือการพุดคุยกับเด็ก เป็นการสร้างความรู้สึกปลอดภัยในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนและน่าหวาดกลัวอย่างนี้
- ถึงแม้ว่าจะต้องเว้นระยะห่างตามมาตรการแต่ต้องติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ด้วยหตุผลทางด้านความปลอดภัย จัดให้มีการทำวีดีโอแชท ส่งจดหมาย หรือ โทรศัพท์กับผู้ดูแลบ้าง การติดต่อสื่อสารกันนี้จะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและรู้สึกได้รับความดูแลในช่วยเวลาของโรคระบาดนี้
ชุมชน รัฐ หมู่บ้าน สามารถทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้
- มีแบบแผนวิธีการ หรือจัดการอำนวยความสะดวกกับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้อยู่กับเด็กให้สามารถติดต่อกับเด็กได้ (ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ทางสายเลือด ปู่ย่าตายาย ผู้อุปการะ หรือ ครู เป็นต้น) หรือส่งผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัว (สังคม
สงเคราะห์, การเยี่ยมเยียนบ้าน) ผ่านทางกิจกรรม อุปกรณ์ หรืออินเตอร์เน็ตก็ตาม
- จัดหาทรัพยากรที่มีความหมาย เหมาะสมกับวัยเพื่อให้ได้ใช้ ได้เล่น หรือพุดคยกับเด็กในช่วงเวลาโรคระบาดนี้
ปัจจัยป้องกัน #2 เข้าถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน การเข้าถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานของเด็ก หรือครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ที่พัก เครื่องนุ่งห่ม หรือยารักษาและการรักษาสุขภาพจิต เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการดำรงชีวิตในช่วงที่น่าตึงเครียดนี้ การระดมทรัพยากรที่จับต้องได้เป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะครอบครัวที่ประสบภาวะเสี่ยง ไม่จะเป็นความไม่มั่นคงทางการเงิน ภาวะเสี่ยงจากการว่างงาน หรือกลุ่มที่ต้องการดูแลรักษาร่างกายและจิตใจ ผู้ปกครองและพ่อแม่ สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้
- การขอความช่วยเหลือนับเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็ง ไม่ใช่อ่อนแอ
- การแจ้งหน่วยที่ให้การสนับสนุนในท้องถิ่นผ่านหน่วยงานที่ให้บริการปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือ สถาบันการสอนต่างๆ หรือผ่านทางหน่วยงานต่างๆ ทางเว็บไซต์ ทางฮ็อตไลน์ ศูนย์ให้ความช่วยเหลือครอบครัว หรือชุมชน
ชุมชน รัฐ หมู่บ้าน สามารถทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้
- ช่วยให้ครอบครัวสามารถระบุศูนย์บริการที่ปฏิบัติงานโดยตรงต่อครอบครัวที่อ่อนไหว และรณรงค์จิตสาธารณะ
- ลดสิ่งกีดขวางในการถึงบริการต่างๆโดยการเพิ่มทางเลือกให้มีการรับบริการแบบถึงที่ และชี้นำจุดเป้าหมายที่ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนของโครงการ หรือครอบครัวที่มีความอ่อนไหว รวมทั้งกลุ่มที่โดนกีดกัน อันเนื่องจากเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ โควิด 19
ปัจจัยป้องกัน #3 การดูแลด้านความรู้สึกของเด็ก ในช่วงวิกฤตินี้ ความรู้สึก หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของเด็กสามารถเกิดขึ้นได้ จากที่ทุกคนต้องมีเการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เด็กจะแสดงอาการทางด้านอารมณ์ออกมา (ไม่ว่าจะเป็นการคลอเคลีย ความวิตก ความเสียใจ หรือความโกรธ) แต่หากมีการให้การดูแลทางด้านอารมณ์จากพ่อแม่ หรือจากชุมชน เด็กส่วนใหญ่จะสามารถกลับไปมีพฤติกรรมก่อนการระบาดได้ ผู้ปกครองและพ่อแม่ สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้
- ใช้ 3Rs ( Reassurance การให้ความมั่นใจ, Routine วิถีประจำ , Regulation การมีกฏระเบียบ) Reassure ให้ความมั่นใจกับเด็กในเรื่องความปลอดภัยต่อเด็ก และคนที่เด็กรัก วิถีประจำ ให้ดำเนินชีวิตประจำวันเป็นปรกติ (เช่น นอน กิน เรียน เล่น) การสนับสนุนเด็กมีทักษะด้านกฏระเบียบ เพื่อให้เข้าสามารถจัดการกับความรู้สึกที่ยาก (เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การเคลื่อนไหว หรือช่วงเวลาที่ต้องเงียบ) และต้องหาเวลาในการตรวจสอบความรู้สึกอีกด้วย (เช่นให้เด็กสามารถถามคำถามได้ ให้เด็กสามารถคุยเรื่องความรู้สึกได้ ให้ข้อมูล และสนับสนุนตามวัยของเด็ก
- เน้นความรู้สึกด้านบวก เล่าเรื่องความหวัง การฟื้นฟู (เล่าเรื่องผู้คนช่วยเหลือกันอย่างไร หรือช่วยสัตว์อย่างไร ให้การตอบสนองที่สมดุลกับความรู้สึกในแง่ลบ และความกลัวในช่วงระบาดนี้ ถ้าไม่มีหนังสือที่บ้าน ให้ลองดูหนังสือสำหรับเด็ก และวัยรุ่นฟรีจากออนไลน์
ชุมชน รัฐ หมู่บ้าน สามารถทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้
- อำนวยความสะดวกให้ครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมบ้าน การพบปะพุดคุย มีหน่วยงานดูแลสภาพจิตใจเด็ก และครอบครัว ครู หรือหน่วยงานที่สามารถให้ทางเลือกในการติดต่อสื่อสารกันได้ (ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ติดต่อผ่านวิดีโอ หรือสายด่วนสุขภาพ
ปัจจัยป้องกัน #4 สนับสนุนสภาพความเป็นอยู่ของผู้ดูแล เมื่อผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลได้รับการดูแลแล้วนั้น เด็กจะได้รับการห่วงใย และการดูแลไปด้วย การให้การป้องกันสุขภาพจิตของผู้ใหญ่เป็นยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพในระหว่างและหลังโรคระบาดนี้ ผู้ปกครองและพ่อแม่ สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้
- เมื่อไหร่ที่สามารถ ให้จัดกิจกรรมที่สำคัญ หรือมีความหมายต่อผู้ดูแล และครอบครัว (เช่น กิจกรรมที่สนุกสนานในบ้าน ฉลองวันเกิด หรือกิจกรรมต่างๆที่สำคัญ หรือติดต่อเพื่อนฝูง) และให้โฟกัสว่าอะไรที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในสถาณการณ์ปัจจุบันได้
- ให้หยุดพักจากงาน และภาระหน้าที่ของผู้ดูแล และมาดูแลตนเอง แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้นก็ตาม (เช่น พัก ออกกำลังกาย หาสิ่งบันเทิง อ่านหนังสือ หรือสวดมนต์) จะส่งผลดีต่อทั้งครอบครัว
- ให้ติดต่อไปหาสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำในการจัดการด้านอารมณ์ และสุขภาพจิต
ชุมชน รัฐ หมู่บ้าน สามารถทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้
- ให้การติดต่อไปยังครอบครัวที่มีความรู้สึกเปราะบาง และให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัยพากรที่ใช้ได้จริง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรด้านสารอาหาร เครื่องนุ่งห่มและสุขภาพกายใจ
- ให้ความมั่นใจว่าสามารถเข้าถึงศูนย์พยาบาล ศูนย์สุขภาพจิตได้ แม้ว่าการติดต่อสัมพันธ์กันเป็นไปไม่ได้
ปัจจัยป้องกัน #5 การติดต่อสื่อสารกันทางสังคม การติดต่อสื่อสารกันทางสังคมในด้านที่ดีนั้น เป็นเรื่องสำคัญในปัจจัยป้องกันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ถึงแม้ว่าต้องเว้นระยะห่างทางสังคม แต่ต้องไม่ถึงการแยกตัวจากสังคม ซึ่งอาจนำไปถึงความเสี่ยงในการละเมิดในเด็กได้ รวมถึงการใช้สารเสพติด และความรุนแรงในครอบครัวได้ ในช่วงวิกฤติการณ์นี้ เด็กจะตอบโต้กับหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลเด็กและเยาวชนน้อยลง หรือแม้กระทั่งผู้ที่คอยรายงานเรื่องความรุนแรงในบ้านก็น้อยลง การตรวจสอบความปลอดภัยของเด็ก ถือเป็นสำคัญในช่วงเวลานี้ ผู้ปกครองและพ่อแม่ สามารถที่จะทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้
- ใช้เวลาในการติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์กับคนในครอบครัว เพื่อน อย่างเป็นปรกติ (ไม่ว่าจะเป็นทางจดหมาย อีเมล์ หรือสื่อต่างๆที่เข้าถึงได้
- สนับสนุนให้เด็กที่โต หรือวัยรุ่น สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้
- เมื่อเวลาจำกัด ให้โฟกัสในการติดต่อสื่อสารกับคนในครอบครัว เพื่อน หรือ ใครก็ตามที่ที่สามารถให้การช่วยเหลือได้มากที่สุด
- ติดต่อกับผู้อ่านผ่านกิจกรรมงานอดิเรก และหากิจกรรมในการช่วยเหลือชุมชน ซึ่งสามารถได้รางวัลหรือคำชื่นชมได้ ( บริจาค เขียนจดหมายถึงผู้อาวุโส)
- ถามสารทุกข์ไปยังครอบครัวอื่นที่มีเด็กอยู่ด้วย
ชุมชน รัฐ หมู่บ้าน สามารถทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้
- สนับสนุนให้เด็กและผู้ดูแลสามารถติดต่อสื่อสารผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม การเรียนการสอน งานอดิเรก หรือกลุ่มสนับสนุน ผ่านสื่อออนไลน์ได้
- ให้ผู้ที่ได้รับอนุญาติสามารถ เช็คความเป็นอยู่ ในแต่ละครอบครัวที่มีเด็กเคยประสบการณ์เสี่ยงภัย (ไม่ว่าจะเป็น เด็กที่เคยถูกทอดทิ้ง หรือเด็กที่ถูกละเมิด ความรุนแรงในครอบครัว หรือมีปัญาทางสุขภาพจิต) ให้เป็นเรื่องปรกติ (โดยผ่านโทรศัพท์ หรือสื่อออนไลน์) หรือไปเยี่ยมในแต่ละครอบครัวได้
สรุป จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 นี้ ส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งยังส่งผลต่อการพัฒนาการและความเป็นอยู่ของเด็ก รวมถึงครอบครัวอีกด้วย แต่ได้มีการทำวิจัยเรื่องการฟื้นฟูสุขภาพจิต ได้แนะนำ ‘ปัจจัยป้องกัน’ ที่จะช่วยให้เด็กห่างจากอันตราย และสามารถปรับตัวเค้ากับบริบทในช่วง โควิด19 ระบาดได้อีกด้วย
ปัจจัยป้องกันที่ 1 ความอ่อนโยนและตอบสนองต่อผู้ดูแล การได้รับการปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนี่องและเป็นปรกติกับผู้ใหญ่ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับอายุนับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสุขภาพ
ปัจจัยป้องกันที่ 2 เข้าถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน การระดมทรัพยากรเพื่อตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจาก ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานราชการ
ปัจจัยป้องกันที่ 3 การดูแลด้านความรู้สึกของเด็ก กิจวัตรที่ต่างไป ส่งผลให้พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของเด็กสามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากมีการให้การดูแลทางด้านอารมณ์จากพ่อแม่ หรือจากชุมชน เด็กส่วนใหญ่จะสามารถกลับไปมีพฤติกรรมก่อนการระบาดได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความมั่นใจ การดำเนินตามวิถีชีวิต หรือการให้รู้จักกฏในการจัดการอารมณ์
ปัจจัยป้องกัน 4 สนับสนุนสภาพความเป็นอยู่ของผู้ดูแลเมื่อผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลได้รับการดูแลแล้วนั้น เด็กจะได้รับการห่วงใย และการดูแลที่ดีไปด้วย
ปัจจัยป้องกัน 5 การติดต่อสื่อสารกันทางสังคมถึงแม้ว่าต้องเว้นระยะห่างทางสังคม แต่ต้องไม่ถึงการแยกตัวจากสังคม การติดต่อทางออนไลน์ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอีกด้วย