ในคลิปนี้ ดร.เพริศพรรณ แดนศิลป์ อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ อ.กวินฉัตระสิริ เมืองไทย นักจิตวิทยาการปรึกษา ศูนย์โอปะนะยิโก จะชวนครูทุกท่านมาติดตั้งอุปกรณ์การสื่อสารในภาคส่ง
🔹 ภาษาที่จะสื่อสารมี 2 ลักษณะ คือ ภาษาพูดหรือวัจนภาษา กับอีกลักษณะเป็นภาษากาย ท่าทาง สีหน้าหรืออวัจนภาษา ซึ่งภาษาพูดก็จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ภาษาที่เราคุยกัน แสดงความเข้าใจ กับ ภาษาที่พูดออกไปแล้ว เราไม่เข้าใจเขาเลย
🔹 ในการพูดคุย สิ่งที่ครูต้องสังเกตควบคู่ไปด้วยกัน คือ อากัปกิริยาที่แสดงออกมาภายใต้ถ้อยคำ แสดงให้เห็นว่าภาษาพูดหรือภาษาท่าทางมักจะมาด้วยกัน หรือในทางตรงกันข้ามบางทีคำพูดอาจออกมาอีกอย่าง ภาษากายอาจเป็นอีกอย่าง ก็จะเป็นตัวบอกให้เรารู้ได้เหมือนกัน ซึ่งทุกอากัปกิริยาที่แสดงออกมีผลกับใจของนักเรียน ดังนั้นครูเองก็จะต้องสื่อสารให้สอดคล้องกันทั้งภาษาพูดและภาษากาย
🔹 เบื้องต้นครูอาจสื่อสารด้วยความเข้าใจ เข้าใจว่านักเรียนคนนี้กำลังบอกอะไรครูแล้วสื่อสารกลับไป แต่ก่อนที่ครูจะบอกอะไรกับนักเรียนออกไป ให้ครูกลับมาสังเกตใจของครูก่อนว่าพร้อมที่จะสื่อสารไหม เมื่อครูตั้งหลักได้ ครูควรใช้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์กับเขา สื่อความเข้าใจกลับไปหานักเรียนคนนั้นแล้วพาเขาเข้าใจตัวเอง หรือสำรวจปัญหาของตัวเองและรู้ว่าจะแก้ปัญหาของตัวเองอย่างไร
⚠️ หมายเหตุ :
สื่อ “ทักษะการสื่อสารด้วยหัวใจถึงหัวใจ”
สร้างขึ้นเพื่อแนะแนวทางบุคลากรในสถานศึกษา
เพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาได้อย่างถูกวิธี
ตัวละคร สถานการณ์และสถานที่ในสื่อ เป็นเหตุการณ์สมมติ
มิได้มีเจตนาพาดพิงองค์กร หรือบุคคลกลุ่มใด ๆ
—–
🔉 สื่อนี้จัดทำขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ
บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในสถานศึกษา