ในคลิปนี้ ดร.เพริศพรรณ แดนศิลป์ อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และ อ.กวินฉัตระสิริ เมืองไทย นักจิตวิทยาการปรึกษา ศูนย์โอปะนะยิโก จะให้แนวทางการสื่อสารเพื่อลดความขัดแย้งที่ครูสามารถนำไปใช้ได้เมื่อเกิดความขัดแย้งในโรงเรียน
🔹 ก่อนจะไปลดความขัดแย้งที่อยู่ข้างนอก ควรกลับมาตั้งต้นที่ข้างในใจของเรา ไม่ว่าเราจะสื่อสารอะไร จะลดความขัดแย้งหรือสร้างสรรค์สิ่งไหน จุดเริ่มต้นแรกคือ กลับมาสังเกตตัวเราเอง ว่าเราเจอกับสถานการณ์แบบนี้ เราตีความว่าอย่างไร รู้สึกอย่างไร แล้วใจของเราจะค่อยๆผ่อนลง
🔹 เมื่อไม่อยากให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นแต่ความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว ปัจจัยที่จะทำให้ตัวเรากับคนอื่นอยู่กันได้อย่างสันติ คือ กลับมาตั้งหลักแล้วพิจารณาว่าเราพร้อมที่จะสื่อสารกับเขาหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมให้หลีกเลี่ยงหรือพาตัวเองออกจากสถานการณ์นั้นไปก่อน แล้วค่อยกลับมาคุย ถ้าใจเราสงบ วาจาที่พูดก็จะสงบและกระทบกระเทือนคนอื่นน้อยลง
🔹 หากครูเป็นตัวกลางของความขัดแย้งระหว่างนักเรียน ให้เปิดพื้นที่ให้แต่ละฝ่ายรับรู้และสะท้อนความรู้สึกให้คู่ขัดแย้งเข้าใจ เมื่อแต่ละฝ่ายอารมณ์เย็นลงค่อยชวนให้หาทางแก้ปัญหา
⚠️ หมายเหตุ :
สื่อ “ทักษะการสื่อสารด้วยหัวใจถึงหัวใจ”
สร้างขึ้นเพื่อแนะแนวทางบุคลากรในสถานศึกษา
เพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาได้อย่างถูกวิธี
ตัวละคร สถานการณ์และสถานที่ในสื่อ เป็นเหตุการณ์สมมติ
มิได้มีเจตนาพาดพิงองค์กร หรือบุคคลกลุ่มใด ๆ
—–
🔉 สื่อนี้จัดทำขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ
บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในสถานศึกษา