ในช่วงที่โรคโคโรน่าไวรัสหรือโควิด19 ที่กำลังระบาดไปทั่วโลกนั้นได้สร้างความกังวลต่างๆไปอย่างกว้างขวางความกลัวความเครียดซึ่งเป็นสิ่งปกติที่คนมักจะเป็นในช่วงที่สถานการณ์ต่างๆกำลังเปลี่ยนไปและไม่มีความแน่นอนเช่นนี้
ผู้อำนวยการ องค์การอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป ดร. ฮานส์ เฮนรี่ พี คลุ๊ค ได้กล่าวไว้ว่า “ประเด็นที่ทุกๆคนต่างกำลังเผชิญอยู่ก็คือว่าเราจะจัดการและปฏิบัติอย่างไรในสถาณการณ์ที่น่าเครียด ที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตและสังคมของพวกเราอย่างรวดเร็ว สิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือเราสามารถรวมพลังและร่วมมือกัน และนั่นก็คือสิ่งที่เราต้องพยายามให้ความสนใจก็คือ จะต้องตอบสนองอย่างไรถึงจะส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคปัจเจกบุคคล ครอบครัว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน และสมาชิกของสังคม”
องค์การอนามัยโลก ให้ความสำคัญกับผลกระทบทางด้านจิตใจจากวิกฤตินี้อย่างจริงจัง และยังคอยสอดส่องสถานการณ์ ในแต่ละประเทศกับเจ้าหน้าที่ในชาติๆนั้น ในขณะเดียวกัน ก็พยายามคอยให้ข้อมูลและคอยแนะนำให้แก่รัฐบาล และสังคมอีกด้วย
ในห้องแถลงการสื่อมวลชน ที่จัดขึ้นวันที่ 26 มีนาคม ดร.คุ๊ค ร่วมด้วย ดร. ไอยชา มาลิค เจ้าหน้าที่เทคนิค แผนจิตเวชและการใช้สารเสพติด สำนักงานใหญ่ องค์การอนามัยโลก ดร. ดอริด นิตซาน รักษาการผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน องค์การอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป ได้ตอบคำถามประเด็นเรื่องสุขภาพจิตในบริบทของโควิด 19 และเสนอเครื่องมือภายใน เทคนิค และความรู้ต่างๆในการต่อสู้กับวิกฤตินี้
ดร.คลุ๊คได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “ ด้วยผลกระทบของเหตุการณ์โควิด 19 นี้ ไม่ว่าจะเป็น ระยะห่างทางสังคมที่ส่งผลกระทบหลักต่อชีวิตประจำวันของเรานี้ การตรวจสอบซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการการโทรหากัน หรือว่ากันติดต่อสื่อสารทางวิดีโอ เป็นการให้ความใส่ใจ และละเอียดอ่อนต่อความต้องการทางด้านจิตใจในรูปแบบเฉพาะต่อคนที่เราใส่ใจด้วย ความวิตกและความกลัวนี้ต้องได้เป็นที่รับรู้ ไม่สามารถองเพิกเฉยได้ แต่ต้องทำความเข้าใจ และได้รับการดูแลจากบุคคล ชุมชน และรัฐบาล”
คำถามส่วนใหญ่ พุ่งประเด็นไปยังประชากรในแต่ละกลุ่ม รวมทั้ง เด็กและกลุ่มผู้สูงอายุ
ผลกระทบที่มีต่อเยาวชนจากวิกฤติโควิด19
ช่วงเวลานี้ นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่น่ารื่นรมย์ต่อพวกเราทั้งหมด โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนที่อาจได้รับผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ต่อชีวิตของเค้า เยาวชนจะได้รับรู้ถึง ความกังวล ความวิตก และความกลัว ซึ่งความกลัวนี้เองจะเป็นความกลัวที่คล้ายกับที่กลุ่มผู้ใหญ่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นความกลัวจากความเจ็บปวด ความกลัวว่าครอบครัว ญาติพี่น้องที่จะได้รับอันตรายถึงชีวิต หรือความกลัวในการรักษาพยาบาล อีกทั้ง ถ้าหากโรงเรียนได้ปิดลงตามกระบวนการการรักษาความปลอดภัย พวกเยาวชนจะไม่ได้รับรู้ถึงลักษณะทางโครงสร้างหรือแรงกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อมที่เคยได้รับ และการที่ไม่ได้พบเจอเพื่อนหรือ แรงสนับสนุนทางด้านสังคม ซึ่งเป็นหัวใจหลักสุขภาพจิตของเยาวชนก็จะทำให้เยาวชน ก็จะส่งผลทางด้านจิตใจเช่นกัน
อีกทั้งต้องตระหนักถึงความปลอดภัยในบ้านของตนเอง เนื่องจากเด็กอาจไม่ได้รับการป้องกัน หรือได้รับประสบการณ์ความรุนแรงภายในบ้าน หากเป็นบ้านที่มีความรุนแรง
ถึงแม้ว่า การรับรู้ของเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ในเด็กเล็กอาจไม่เข้าใจในความเปลี่ยนแปลงนี้ ดังนั้น ทั้งในกลุ่มเด็กเล็กและเด็กโตอาจแสดงออกถึงความโกรธเกลียด หรือความไม่พึงพอใจออกมา เด็กก็จะพยายามใกล้ชิดผู้ปกครองมากขึ้น และเมื่อเด็กเรียกร้องมากๆ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลก็จะอยู่ในภาวะกดดันก็ได้
ยุทธศาสตร์ง่ายๆที่จะแก้ปัญหานี้ก็คือการให้ความรักต่อกลุ่มคนที่ยังเด็กอยู่นี้ และให้ความสนใจเพื่อหักล้างไม่ให้เกิดความกลัว และซื่อสัตย์ต่อเค้า อธิบายให้เด็กฟังในวิธีที่เด็กสามารถทำความเข้าใจได้ เด็กเป็นผู้รับรู้ได้อย่างไว และจะเลียนแบบจากผู้ปกครอง ทางด้านผู้ปกครองเอง ต้องจัดการกับความเครียดของตนเอง ให้เด็กสามารถแสดงออกถึงความเครียดได้ เพื่อที่จะได้เป็นต้นแบบที่ดีต่อเด็กและเยาวชน การช่วยให้เด็กได้แสดงความเป็นตัวเองออกมาผ่านการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ตามแบบแผนในแต่ละวัน ถ้าเป็นไปได้ ให้สร้างเป็นกิจวัตร ว่าถ้าหากไม่ได้ไปโรงเรียนแล้วก็สามารถสร้างสรรประโยชน์ต่อตนเองได้
หน่วยงานสร้างเสริมสุขภาพจิต และนักจิตวิทยาควรมีประจำอยู่ในแต่ละพื้นที่ และองค์การป้องกัน ดูแลเด็กต้องมีปรับเพื่อรองรับการดูแลเด็กในแต่ละครอบครัวหากต้องการ
โรคระบาดนี้ส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาต่อผู้สูงอายุอย่างไร
ในขณะที่เหล่าผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อโรคโควิด 19 และการที่เป็นกลุ่มที่อ่อนไหวกับโรค มันจะสร้างความหวาดกลัวขึ้นมาได้ ทางด้านผลกระทบทางด้านจิตวิทยาอาจเป็นไปได้ทั้งความตระหนก ความเครียด หรือความโกรธขึ้นมาได้ ผลกระทบนี้อาจยากลำบากต่อผู้สูงอายุผู้ที่รู้สึกภาวะถดถอย(ทางด้านองค์ความรู้และความรู้สึก) และในบางกลุ่มอาจเป็นกลุ่มแยกออกจากสังคมอยู่แล้ว ซึ่งจะรู้สึกถึงความเปล่าเปลี่ยว ซึ่งอาจจะเป็นอาการที่แย่ลงทางภาวะจิตใจได้
ในแง่มุมบวก ผู้สูงอายุอาจริเริ่มสร้างสรรสิ่งต่างๆได้หลายอย่างเพื่อที่จะสนับสนุนวิชาชีพของเค้า ถ้าจำเป็น เพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพจิตในตอนนี้ จะมีการสนับสนุนยุทธศาสตร์หลายอย่างตามที่ให้กับประชาชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น สนับสนุนกิจกรรมทางด้านร่างกาย หรือดำเนินชีวิตตามกิจวัตร หรือสร้างกิจวัตรใหม่ๆขึ้นมา หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดความรู้สึกถึงความสำเร็จ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมอย่างต่อเนื่องก็สำคัญ ผู้สูงอายุบางท่านอาจคุ้นเคยกับเทคโนโลยี ผู้สูงอายุบางท่านอาจต้องได้รับการสนับสนุนในส่วนนี้ด้วย และเช่นกัน หน่วยงานที่สนันสนุนด้านสุขภาพจิตและจิตวิทยาต้องพร้อมให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน
สรุป
จากวิกฤติการณ์โควิด 19 นี้ได้ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กเยาวชนหรือผู้สูงอายุ สิ่งที่พวกเราจำเป็นต้องทำเพื่อจะตอบโต้กับวิกฤตินี้คือการร่วมแรง และรวมพลังกัน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ได้มีการแถลงต่อสื่อมวลชน โดย ดร.คุ๊ค ร่วมด้วย ดร. ไอยชา มาลิค เจ้าหน้าที่เทคนิค แผนจิตเวชและการใช้สารเสพติด สำนักงานใหญ่ องค์การอนามัยโลก ดร. ดอริด นิตซาน รักษาการผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉิน องค์การอนามัยโลก ภาคพื้นยุโรป ได้ตอบคำถามประเด็นเรื่องสุขภาพจิตในบริบทของโควิด 19 และเสนอให้เครื่องมือภายใน เทคนิค และความรู้ต่างๆในการต่อสู้กับวิกฤตินี้ โดยแถลงว่า ความวิตกกังวลและความกลัวนี้ต้องได้รับการรับรู้ และไม่สามารถเผิกเฉยได้ อีกทั้งยังต้องทำความเข้าใจในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชนและรัฐบาลอีกด้วย
ผลกระทบที่มีต่อสุขภาพจิตของเยาวชนจากวิกฤติโควิด19
เด็กและเยาวชนต่างก็ได้รับผบกระทบที่ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ความกังวล ความวิตกก็ตาม และตามมาตรการในการต่อสู้กับโควิด 19 นี้ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างต่อการดำเนินชีวิต กลยุทธง่ายๆที่จะสนับสนุนทางด้านสุขภาพจิต และ จิตวิยานี้ก็คือการให้ความรัก และความสนใจ และซื่อสัตย์ต่อเค้าและเป็นต้นแบบในการต่อสู้กับวิกฤตินี้ด้วย ทั้งนี้ผู้ปกครองเองก็ต้องจัดการความเครียดส่วนตัวด้วย และต้องมีหน่วยงานที่สนับสนุนด้านสุขภาพจิตและหน่วยงานป้องกันดูแลเด็กอยู่ในพื้นที่ด้วย
โรคระบาดนี้ส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาต่อผู้สูงอายุอย่างไร
กลุ่มผู้สุงอายุหรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพนี้เป็นกลุ่มที่เปราะบางต่อโรคระบาดนี้ ผลกระทบทางด้านจิตใจของคนกลุ่มนี้อาจมีภาวะตระหนกและกลัวเป็นอย่างมาก ผลทางด้านจิตใจของคนกลุ่มนี้ อาจรวมถึงความวิตก ความเครียด และความโกรธ เนื่องจากผู้สูงอายุเหล่านี้จะประสบปัญหาภาวะถดถอยอยู่แล้ว หรือกลุ่มนี้เป็นผู้ที่แยกตัวออกจากสังคมอยู่แล้ว จึงต้องให้มีการสนับสนุนคนกลุ่มนี้ให้ดำเนินชีวิตต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้านอาชีพ การทำกิจกรรมต่างๆ หรือดำเนินชีวติตามกิจวัตรของเค้า และแน่นอนต้องมีหน่วยงานสุขภาพจิตอยู่ในพื้นที่เพื่อให้การสนับสนุนอีกด้วย
Reference: www.euro.who.int/en/health-topics/health-emergencies/coronavirus-covid-19/news/news/2020/3/mental-health-and-psychological-resilience-during-the-covid-19-pandemic