ผู้เขียน นายบัณฑิต เกิดบัณฑิต
จากเหตุภาวะเชื้อไวรัสCOVID-19แพร่ระบาดทั่วโลก อาจทำให้นักเรียนหลายๆคนพลาดโอกาสในสิ่งที่พวกเขาควรได้เรียนรู้ในช่วงภาคการศึกษาเมื่อปีก่อน อ้างอิงจากผลการวิจัยหนึ่ง ผลกระทบอาจเกิดขึ้นรุนแรงที่สุดในหมู่เด็กผู้ด้อยโอกาส เช่นนั้นแล้ว ผู้กำหนดนโยบายจะวางนโยบายเพื่อปรับปรุงการศึกษาไทยได้อย่างไร? ในขณะที่การศึกษาแบบดั้งเดิมนั้นได้หยุดชะงักลงเช่นนี้
การติดเชื้อ และ การเสียชีวิตในแต่ละวันมีเกณฑ์ต่ำลงในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีสัญญาณบ่งชี้ว่าประเทศไทยกำลังจะผ่านจุดวิกฤต และสถานการณ์เริ่มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สาธารณชนทั่วไปยังคงต้องเฝ้าระวัง และ รักษาที่ตั้งให้ผู้คนอยู่ในบ้าน และรักษาระยะห่าง เนื่องจากเชื้อไวรัสอาจหวนมาอาละวาดในระลอกสอง ซึ่งอาจรุนแรงกว่าเดิมแบบที่ผู้คนคาดกันไม่ถึง
และเช่นกัน กับสถาบันการเรียนรู้ กำลังก้าวเข้าสู่ขั้นวิกฤต โดยกระทรวงศึกษาธิการได้สั่งเลื่อนการเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษา2563 ออกไปหนึ่งเดือนครึ่ง หรือจาก 16 พฤษภาคม ไปเป็น 1 กรกฎาคม
การสั่งหยุดเรียนเกิดขึ้นทั่วทั้งโลก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประมาณการไว้ว่าโรงเรียนใน 191 ประเทศทั่วโลกโดนผลกระทบนี้ และทำให้เสียเวลาและส่งผลเสียต่อเหล่านักเรียนอย่างน้อย 1.6 พันล้านคน หรือ 91.3% ของประชากรนักเรียนทั่วโลก ผู้เชียวชาญด้านการศึกษากำลังเร่งรับมือผลกระทบต่อบริบทดังกล่าว
เบธ ทาราซาว่า และ เมแกน คูห์เฟลด์ สองนักวิจัยแห่ง สถาบัน NWEA (ผู้จัดทำแบบทดสอบการประเมินMAP testing) คาดการณ์ว่าเมื่อโรงเรียนกลับมาเปิดอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ร่วง หรือต้นเดือนกันยายน นักเรียนในสหรัฐจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้นถึง 30% อาจสูญเสียทักษะการอ่านและการคำนวณที่พวกเขาได้เรียนรู้มาในช่วงปีการศึกษาก่อนไปถึง 50% เชื้อไวรัสCOVID-19 เป็นตัวการสั่งปิดโรงเรียนหลายแห่งในสหรัฐ ตั้งแต่เมื่อกลางเดือนมีนาคม ความสำคัญของการเรียนการศึกษาในแต่ละชั้นปีนั้นแตกต่างกัน โดยเด็กบางกลุ่มอาจจะต้องกลับมาเข้าเรียนตลอดหนึ่งปีเต็มโดยไม่พัก
เพื่อยืนยันการคาดการณ์ ทั้งคู่ใช้วิธีการค้นหาตัวอย่างและการวิจัย ทั้งนี้ การเปรียบเทียบกับประเทศไทยนั้นมิสามารถเทียบได้ เนื่องจากความแตกต่างนั้นรวมไปถึงลักษณะทางประชากรของพื้นที่นั้นๆ รวมไปถึงหลักการสอน และความรุนแรงของการแพร่กระจายเชื้อที่ส่งผลให้มีการปิดโรงเรียนขึ้น อย่างไรก็ตาม เราควรพึงจำไว้ว่า การขยายวันหยุดพักเรียนเพิ่มจะส่งผลกระทบที่รุนแรงอย่างยิ่งในด้านการศึกษา
สิ่งที่บุคลากรทางศึกษาจะรับมือกับเหตุการณ์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ จึงมีความสำคัญในการป้องกันนักเรียนจากความล้มเหลวทางวิชาการเป็นอย่างมาก
ศาสตราจารย์เฟอร์นันโด ไรเมอร์ส แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และ แอนเดรีย ชไลเกอร์ แห่งองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้สำรวจบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา จำนวน 330 คน จาก 98 ประเทศ เพื่อดูว่าแต่ละประเทศนั้น รัฐบาลได้เล็งเห็นอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะยับยั้งเชื้อโรคที่ระบาดไปทั่วโลก ผลการสำรวจสามารถแบ่งออกเป็นวงกว้าง ในการสนับสนุน ทั้ง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง
สำหรับนักเรียน ผู้กำหนดนโยบายควรให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ให้การช่วยเหลือต่อกลุ่มผู้ขาดทักษะในการศึกษาอย่างอิสระ และควรดูแลสภาพความเป็นอยู่และสุขภาพทางอารมณ์
สำหรับครู ภาครัฐควรหนุนหลังบุคลากรที่เป็นมืออาชีพ เพื่อให้พวกเขาได้เตรียมทักษะด้านเทคนิคและทักษะการสอนเพื่อใช้การสอนทางไกลอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผุ้ปปกครอง เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาพร้อมที่จะสนับสนุนเด็กที่จะเรียนหนังสือทางไกลจากบ้าน
เพื่อขยายการศึกษาในช่วงเวลานี้ แต่ละประเทศจะต้องเตรียมรับมือ และใช้ประโยชน์จากสื่อภายใต้สภาวะที่แตกต่างกันให้ดีที่สุด
แบบแผนการเรียนรู้ทางออนไลน์ที่หลากหลายเกิดขึ้นมากที่ประเทศอาเจนติน่า ออสเตรเลีย และ จีน ในขณะที่การเรียนรู้แบบการกระจายเสียง หรือเรียนสดผ่านวีดีโอ ทำกันมากในประเทศเบลเยี่ยม อิสราเอล และฮังการี
ในขณะเดียวกัน ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น กำลังวางแผนล่วงหน้าเพื่อช่วยให้นักเรียนพื้นสภาพโดยเพิ่มการเรียนเสริมหลังจากโรงเรียนกลับมาเปิดอีกครั้ง ประเทศอิตาลี ได้ให้การสนับสนุนแก่ครู โดยการฝึกอบรมทางไกล และทำงานกลุ่มระดับภูมิภาค
และประเทศจอร์เจีย ได้จัดเตรียมระบบการเรียนรู้เสมือนจริง โดยอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสามารถให้ความรู้แก่นักการศึกษาด้วยการเรียนระยะไกลได้
เรายังมีประเทศเนเธอร์แลนด์และสิงค์โปร์ สองประเทศยักษ์ใหญ่แห่งวงการการศึกษา ได้เปิดกองทุนเพื่อให้นักเรียนมีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางออนไลน์ พวกเขายังตระหนักดีว่าเด็กบางคนอาจมีความยากลำบากในการเรียนที่บ้านให้ได้ประสิทธิภาพ อันเนื่องมาจากความขัดสนในมุมที่เอื้อต่อการศึกษา และการสนับสนุนของผู้ปกครอง หรือ บางคนต้องการการสนับสนุนอื่นๆเช่น อาหาร เด็กนักเรียนเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากบ้านที่มีรายได้ต่ำ จะได้รับการต้อนรับกลับเข้าโรงเรียน ไม่ต้องเรียนจากบ้านโดยครูจะเข้าช่วยเหลือดูแล และมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด เช่น จัดพื้นที่ปลอดภัยให้ ทั้งนี้ยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากเชื้อCOVID-19 ผู้ที่ประสบกับความไม่มั่นคงอื่นๆอีกด้วย
ในประเทศไทย การรับมือทางด้านการศึกษานั้นแข็งแกร่งขึ้น กระทรวงศึกษาธิการนั้นกำลังประมวลผลข้อเสนอจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกำหนดขั้นตอนต่อไปที่เหมาะสม ในขณะเดียวกัน ยังมีแนวคิดที่จะสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคที่มีอยู่แล้วเช่น การทำงานร่วมกับ สำนักงาน กสทช. โดยจัดช่องทีวี 13 ช่องเพื่อฉายการเรียนการสอนแบบดิจิตัล ในบางโรงเรียน ฝ่ายบริหารก็ร่วมเสนอความคิดเห็น นำเสนอเรื่องการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
สิ่งที่ยังต้องคำนึงถึงเพิ่มเติมก็คือ เหล่านักเรียนที่อยู่ห่างไกล หรือเข้าถึงยาก เช่นอาศัยอยู่ในเขตภูเขา หรือ ชายแดน นักเรียนเหล่านี้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตหรือไฟฟ้าได้ยาก หรืออาจไม่ได้เลย วีธีที่ดีที่สุดคือการเข้าหาโดยตรงแบบออฟไลน์ ยกตัวอย่างเช่น การปรับผังชั้นเรียน ให้มีการสอนต่อไปแต่ให้นักเรียนผลัดกันเข้าเรียน เพื่อหลีกเลี่ยงการชุมนุม ป้องกันเชื้อโรค หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือครูอาสาเข้าพื้นที่ห่างไกล เพื่อเข้าไปสอนนักเรียน ดังเช่น “ครูหลังม้า” ที่เคยมีมาในอดีต โดยครูเหล่านี้จะขี่ม้าบรรทุกสื่อการเรียนการสอนไปยังหมู่บ้านห่างไกล สอนเด็กคละอายุในแต่ละหมู่บ้าน โดยที่จะสอนให้ผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง
นอกจากการเตรียมพร้อมแผนการสอนการเรียนรู้ตามบ้าน การบรรเทาความเดือดร้อนของนักเรียนชายขอบยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหน่วยงานของภาครัฐ เนื่องจากการปิดโรงเรียนส่งผลร้ายต่อโภชนาการของเด็กและความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา ในช่วงเวลาปกติ มีเด็กนักเรียนจำนวนถึง 670,000 คนต่อปีที่ต้องออกจากโรงเรียน เมื่อเทียบกับความทุกข์ยากในปัจจุบัน จำนวนเด็กที่อยู่ในช่องโหว่ของการศึกษานั้นเลวร้ายลงเรื่อยๆ
มาถึงตอนนี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. กำลังเร่งเบิกจ่ายเงินอุดหนุน 3,000 บาทต่อนักเรียน ภายใต้โครงการ โอนเงินสดตามเงื่อนไข (CCT) สำหรับเด็กและวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง 711,536 คน ในโรงเรียน 27,805 แห่งทั่วประเทศ กระบวนการปกติจะใช้เวลาหลายเดือนหลังจากโรงเรียนเปิดใหม่ กองทุนได้จัดสรรเงินอีก 300 ล้านบาทในการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินสำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาส 200,000 คน
เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของพวกเขาในช่วงวิกฤตที่ไม่คาดคิดจากการเลื่อนวันเปิดโรงเรียน
จนกว่าทางการแพทย์จะค้นพบหนทางรักษาหรือป้องกันเชื้อไวรัสCOVID-19 เชื้อโรคนี้มีแนวโน้มที่จะยังคงแพร่ต่อเนื่องต่อไป
อย่างไรก็ตาม พวกเราไม่สามารถยอมให้เชื้อมาทำระบบการศึกษาล้ม หรือ หยุดนิ่งได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายทางสังคมและเศรษฐกิจของการหยุดชะงักการสอนนั้นมีมากมายกว่าที่จะรับไหว ผู้กำหนดนโยบายจะต้องทำให้แน่ใจว่า การตอบสนองของการศึกษาต่อวิกฤตยุคCOVID-19 นั้น
ทั้งต้องชัดเจน และยังต้องยืดหยุ่นได้ รวดเร็วแต่ครอบคลุม เข้าถึงได้ในหมู่ชุมชนที่เฉพาะเจาะจง แต่พิสูจน์ได้ในระดับสากล นักเรียนเป็นศูนย์กลาง แต่ยังมีครูและผู้ปกครองเป็นศูนย์กลางเช่นกัน