ที่มาและหลักการ
ตามที่สํานักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ตามมาตรา 5 (3) และมาตรา 5 (6) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ระบุวัตถุประสงค์ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกันดําเนินการ หรือจัดให้มีการศึกษาวิจัย หรือค้นคว้าแนวทางในการพัฒนาครูให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีความรู้ และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนเพื่อ ลดความเหลื่อมล้ําในการศึกษา โดยมีแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาครู โดยเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาเด็กและเยาวชนตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นหมายความรวมถึงครูที่กําลังปฏิบัติหน้าที่สอน (ครูประจําการและครูผู้ช่วย) และผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตด้วย
และองค์การความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD : Organization of Economic Cooperation Development) ได้นําเสนอเอาไว้ว่าปัจจุบันสภาวการณ์ของโลกกําลังเปลี่ยนไป แนวโน้มการจ้างงานว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ที่สําคัญคือ 60% ของงานในอนาคตจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ที่โรงเรียน หรือผู้ทําหลักสูตรไม่สามารถคาดการณ์ได้ ความรู้เนื้อหาที่สอนผู้เรียนในวันนี้ ในอนาคตอันสั้น อาจจะไม่สามารถนําไปใช้ได้เนื่องจากความล้าสมัย ดังนั้นเด็กยุคใหม่จะต้องมีทักษะที่แข็งแกร่งมากกว่าความรู้ที่ถูกพร่ําสอน และจะดีขึ้นไปอีกถ้าผู้สําเร็จการศึกษาสามารถสร้างสรรค์งานได้เอง ทําให้การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนปัจจุบันได้เสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้นักเรียน ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความอยากจะคิด มีแรงจูงใจในการหาคําตอบ เป็นสําคัญ โดยผู้บริหารและครูต้องเปลี่ยนมุมมอง รู้จักท้าทายกฎตายตัว จึงจะสามารถสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้แก่เยาวชนได้ โดยคุณสมบัติของครูที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด โดยสรุป ครูต้องเปลี่ยนบทบาทใหม่เป็นผู้เปิดโลกทัศน์ สร้างความ ท้าทาย ด้วยกิจกรรมให้นักเรียนได้ลงมือทําจริงทุกคน ทุกคนในห้องเรียนเป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกัน และช่วยฝึกให้นักเรียนมีการฝึกการควบคุมอารมณ์ และการสะท้อนอย่างต่อเนื่อง องคาพยพด้านการศึกษาของประเทศจะต้อง Focus ไปที่ความคิดสร้างสรรค์ หรือพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ สนับสนุนกันและกันในการจัดกระบวนทัศน์การเรียนรู้ใหม่ๆ ในชั้นเรียนของเด็กๆ
ดังนั้นจึงเห็นว่าการใช้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร คณะครูทุกคน คณะกรรมการสถานศึกษาฯลฯ ซึ่งถ้าโรงเรียนใช้ AL (Active Learning) ครูทุกคนก็ใช้ AL ในการจัดการเรียนรู้ของเด็ก และงานอื่นๆ ก็ให้การสนับสนุน ทั้งการบริหารบุคคล งบประมาณ และทั่วไปไม่ใช่แค่ทุกช่วงชั้น แต่ครูทุกคนเทอมที่ 1 เริ่มที่ ครู ม.2 บางคนที่เรียกว่าครูแกนนํา ต้องให้เขาเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงตามหลักการที่ถูกต้องอย่างครบวงจร เพื่อการเรียนรู้และปรับกระบวนทัศน์ เป็นเรื่องสําคัญในเวลาเดียวกัน เทอม 1 ผู้บริหาร ครูวิชาการ จะต้องเรียนรู้คู่ขนานและปรับระบบบริหารด้วย Q-Goal เพราะ Q-Goal คือระบบแผนงานของโรงเรียน ดังนั้น WSA. จะเกิดดูได้จาก Q-Goal ต้องมีระบบสารสนเทศ ที่มีความสําคัญอีกระบบหนึ่ง เพราะจะช่วยเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนําไปใช้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ต้องมี PLC เป็นเครื่องมือสําคัญเพื่อให้ครูได้รวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดการความรู้ (KM) ภายในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่ง มี Network แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรง เป็นพลังกลุ่มที่ทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยกระตุ้นการพัฒนา
ซึ่งเราเรียกเครื่องมือนี้ว่า Whole School Approach หรือ WSA. ซึ่งหมายถึงการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบการบริหารจัดการระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบการประกัน คุณภาพภายใน ระบบการพัฒนาบุคลากร การดูแลนักเรียนให้ทั่วถึง ระบบสนับสนุนฯลฯ
ดังนั้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Learning Process) 6 ขั้นตอนของคณะวิจัย ควรขยายผลไปให้ทั่วถึงทุกช่วงชั้นของโรงเรียนตามความเหมาะสมของนักเรียนแต่ละช่วงชั้น
นักวิชาการในประเทศไทยจากหลายหน่วยงานจึงรวมกลุ่มกันเดินหน้าทําวิจัยร่วมกับ OECD พัฒนาเครื่องมือประเมินและส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ทาง OECD เองเชื่อว่า เป็นแบบวัดที่สอดคล้องกับโลกยุคศตวรรษที่ 21 เครื่องมือวัดดังกล่าวจะเหนี่ยวนําพฤติกรรม การจัดการเรียนการสอนของครูทั่วโลกให้เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน และในที่สุดเครื่องมือวัดนี้จะกลายเป็นคานงัดที่พลิกแนวคิดในการจัดการศึกษาจนเกิดความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างไปทั่วโลก ซึ่งองค์การ OECD คาดหวังไว้ว่าในปี 2021 เครื่องมือวัดดังกล่าวจะถูกนํามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ ข้อสอบ PISA อีกด้วย โดยโครงการดังกล่าวมีประเทศภาคีที่ร่วมทําวิจัยทั้งสิ้น 14 ประเทศ ทั่วโลก
ซึ่งสามารถแบ่งเป็นเครื่องมือต่างๆ ได้ดังนี้
- แบบวัดความรู้ (Pre-test /Post-test)
- เครื่องมือวัดและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ (EPOC)
- แบบสอบถาม นักเรียน ครู โรงเรียน และผู้ปกครอง เพื่อสํารวจข้อมูลพื้นฐาน
- แบบประเมินตนเอง
- แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ตามสภาพจริงด้วย Rubrics
โดยเครื่องมือดังกล่าวครูทุกคนในโครงการจะได้ใช้ และตัวหลักที่เหนี่ยวนําการปรับการเรียนการสอน นั่นก็คือ “แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ตามสภาพจริงด้วย Rubrics” ซึ่ง Rubric ใน Version ของ OECD ว่า เป็นเครื่องมือเชิงกระบวนการ ที่นําเอาหัวใจสําคัญของระบบการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดของมนุษย์ 2 สิ่งมาผสมผสานกัน สําหรับปีการศึกษา 2563-2560 คณะวิจัยมีแผนดําเนินการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อจัดทําฐานข้อมูลของประเทศไทยอีกครั้ง เพียงแต่ครั้งนี้จะเน้นไปที่การคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบเป็นแม่ข่ายในการใช้เครื่องมือ และสามารถขยายผลไปสู่โรงเรียนลูกข่ายซึ่งอยู่ภายในโซนพื้นที่ใกล้เคียง มาทดลองใช้เครื่องมืออย่างเข้มข้น เพื่อครูเหล่านั้นจะได้พัฒนาเป็นครูต้นแบบและเป็นทีม Coach ต่อไปได้
เพื่อให้การดําเนินการวิจัยร่วมกับองค์การโออีซีดีในปีการศึกษา 2563-2564 ระหว่างเดือน กรกฎาคม 2563 – สิงหาคม 2564 มีประสิทธิภาพสูงสุด กสศ.ในฐานะหน่วยงานประสานงานประจําประเทศไทยจึงจําเป็นต้องดําเนินการระดมทรัพยากรและคณะนักวิจัยที่มีความรู้และประสบการณ์ในการ พัฒนาเครื่องมือดังกล่าวในปีการศึกษา 2558-2559 เพื่อทํางานร่วมกับหน่วยงานภาคีวิจัย ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมูลนิธิยุวสถิรคุณ ที่ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการวิจัยการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ของเด็กเยาวชน และครูไทยในศตวรรษที่ 21 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ภายใต้วัตถุประสงค์และกรอบการดําเนินงานที่กล่าวไปนี้