โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
จุดมุ่งหมาย
โครงการนี้มุ่งให้เกิดการดูแล ‘กลุ่มปฐมวัย’ และ ‘กลุ่มนอกระบบการศึกษา’ ก่อนจะขยายสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นในอนาคต โดยใช้ความร่วมมือในระดับพื้นที่ของทางจังหวัดกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ.) โครงการนี้ทำบนพื้นฐานข้อมูลและความร่วมมือทางวิชาการของหน่วยงานเกี่ยวข้องในระดับจังหวัดลงไป
ทำไมต้องเป็น ‘กลุ่มปฐมวัย’ และ ‘กลุ่มนอกระบบการศึกษา’ ก่อนกลุ่มอื่น
โครงการนี้มุ่งให้เกิดการดูแล ‘กลุ่มปฐมวัย’ และ ‘กลุ่มนอกระบบการศึกษา’ ก่อนจะขยายสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นในอนาคต โดยใช้ความร่วมมือในระดับพื้นที่ของทางจังหวัดกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ.) โครงการนี้ทำบนพื้นฐานข้อมูลและความร่วมมือทางวิชาการของหน่วยงานเกี่ยวข้องในระดับจังหวัดลงไป
‘เด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา’
อยู่ในช่วงอายุ 3-17 ปี ประชากรในวัยนี้มีประมาณ 16.2 ล้าน แต่มีเด็กและเยาวชนจากประชากรในวัยนี้อยู่ ‘นอกระบบการศึกษา’ มีจำนวนประมาณ 0.59 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4.14 ถ้าถอดมาเป็นตัวเลขอาจจะดูไม่มาก แต่ความเหลื่อมล้ำนี้ควรได้รับการแก้ไข เพราะผลกระทบของการอยู่นอกระบบการศึกษา สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละ 330,000 ล้านบาท กสศ. จึงเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เด็กและเยาวชน ควรได้รับการศึกษาเท่าเทียมกันทุกคน
โครงการพัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินความพร้อมของเด็กและเยาวชนในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน
เมื่อโลกเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เทคโนโลยีต่างๆ ฉลาดขึ้น จนเกิดเหตุการณ์ ‘ไม่ต้องการคน’ ในการทำงานอีกต่อไป ประเทศไทยเองก็เข้าสู่ยุค Thailand 4.0 แต่ความพร้อมทำงานของผู้จบใหม่และแรงงาน ยังมีทักษะไม่เพียงพอต่อการทำงานตามตลาดแรงงานต้องการ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้าง ‘เครื่องมือ’ ขึ้นมาประเมินความพร้อมของ ‘เด็กและเยาวชน’ ในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อให้นักเรียนทราบถึงความพร้อม ความสามารถ และการค้นหาอาชีพที่ตนเองต้องการ เพราะการรู้จัก ‘อาชีพ’ ที่ตนเองต้องการ จะช่วยสร้างแรงจูงใจในการศึกษาเล่าเรียน ลดอัตราการลาออกกลางคัน ลดการทำงานไม่ตรงกับวุฒิการศึกษา
เครื่องมือประเมินความพร้อมของเด็กและเยาวชน (Career Readiness Survey) จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อประเมินความพร้อมให้เด็ก ช่วยให้ข้อมูลแก่หน่วยงานในระดับพื้นที่และระดับประเทศ สามารถนำไปใช้กำหนดแผนยุทธศาสตร์และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อปรับทิศทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ช่วยให้ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้มี ‘ความเท่าเทียม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ ช่วยให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางในที่สุด
SDG4
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการศึกษา(SDG4) ในประเทศไทย เกิดจากการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติครั้งที่ 70 (70th UN General Assembly) ซึ่งเป้าหมายเรื่องการศึกษาในประเทศไทย ในการประชุมครั้งนี้ ถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมายที่ 4 (SGD4) คือ ‘การศึกษาที่เท่าเทียม’ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านโอกาส และคุณภาพในการจัดการศึกษา สร้างหลักประกันว่าทุกคนได้มีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กสศ. ได้มีการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือต่างๆ เพื่อใช้สำรวจและประเมินทักษะความพร้อม ของทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 76 จังหวัด เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และแรงงานรุ่นใหม่ เพื่อจะได้มีข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน ดำเนินงาน และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ให้เหมาะสมกับบริบทของจังหวัดนั้นๆ กสศ. ก็ได้มีข้อมูลให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกลุ่มเป้าหมายให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แล้วนำข้อมูลที่ได้นี้ไปรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4)